พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาฐานพยายามฆ่า, มีอาวุธปืน, ยิงปืนโดยใช่เหตุ และค่าชดใช้สินไหมทดแทนจากการวิวาท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน ตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 ก็มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง อันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 376 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก อันเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่พิพากษาลงโทษฐานรับของโจรได้ หากพฤติการณ์สอดคล้อง
โรงแรมของผู้เสียหายปิดกิจการตั้งแต่ปี 2559 ทั้งปักป้ายมีข้อความระบุว่า "ห้ามเข้า ห้ามบุกรุก ปิดกิจการ" และไม่มีผู้รักษาความปลอดภัยประจำอยู่ สุจริตชนโดยทั่วไปย่อมไม่เข้าไปในบริเวณดังกล่าว ช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยขับรถจักรยานยนต์สามล้อผ่านหน้าโรงแรมของผู้เสียหาย อ.ร้องเรียกให้จำเลยช่วยลากรถเข็นล้อเลื่อนซึ่งบรรทุกบานไม้อัดยางช่องชาร์ปกลับบ้าน เมื่อเหตุเกิดเวลากลางคืนอันเป็นยามวิกาล ซึ่ง อ. พยานจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านโจทก์ว่า พยานไปนำบานประตูไม้จากโรงแรม ร. ไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ใด บานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปที่ อ. นำมามีจำนวนมากถึง 14 บาน จำเลยย่อมต้องตระหนักถึงความไม่สุจริตของ อ. และรับรู้ถึงความผิดปกติเกี่ยวกับแหล่งที่มาของบานประตูไม้อัดยางช่องชาร์ปว่าต้องเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรับไว้ด้วยประการใด ๆ และช่วยพาเอาไปเสียซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ครบองค์ประกอบเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 แล้ว แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด หรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. มาตรา 334, 335, 336 ทวิ แต่เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร อันเป็นกรณีซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวมาในคำฟ้อง แต่ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่ถือเป็นเหตุพ้นวิสัย หากมีระยะเวลาที่สมเหตุสมผล
นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 นั้น ต้องเป็นกรณีที่เงื่อนไขแห่งนิติกรรมนั้นเป็นเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาดเนื่องจากสภาพของเงื่อนไขนั้นหรือโดยผลของกฎหมาย มิใช่เพียงเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ง่ายภายในเวลาที่กำหนด ทั้งต้องเป็นการเป็นไปไม่ได้โดยทั่วไป มิใช่เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายภาครัฐ กำหนดให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ FIT ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นเรื่องต้องห้าม มิอาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นข้อ 3.1 (ก) เป็นการพ้นวิสัย แต่อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขย่อมต้องมีระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อให้เงื่อนไขสำเร็จลง มิใช่จะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้น ข้อ 3.2 ให้โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายหุ้นจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์กำหนดให้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ยุติลง เป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะดำเนินการให้จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นผล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่รับไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะพิจารณาตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้า เมื่อไม่ปรากฏว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายภาครัฐ กำหนดให้การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ FIT ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นเรื่องต้องห้าม มิอาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้นข้อ 3.1 (ก) เป็นการพ้นวิสัย แต่อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขย่อมต้องมีระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เพื่อให้เงื่อนไขสำเร็จลง มิใช่จะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาซื้อขายหุ้น ข้อ 3.2 ให้โจทก์มีสิทธิกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าว เมื่อนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2558 ที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายหุ้นจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่โจทก์กำหนดให้ระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ยุติลง เป็นเวลาประมาณ 2 ปีเศษ ซึ่งเป็นเวลาพอสมควรที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะดำเนินการให้จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามเงื่อนไขบังคับก่อนข้อ 3.1 (ก) ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าเงื่อนไขบังคับก่อนไม่สำเร็จ สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่เป็นผล จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องคืนเงินค่าหุ้นที่รับไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้าม การพิสูจน์ไม้เก่าที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง และการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป มิได้หมายความว่าเมื่อจําเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยเสมอไป คดีอาญาไม่ว่าจําเลยจะให้การเช่นใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเสมอว่าจําเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจําเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคําพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ ประกอบขณะคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลต่อการวินิจฉัยของศาลว่า ไม้ของกลางยังคงเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไม้หวงห้าม การกระทำของจําเลยก็ย่อมไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจที่สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนพยานโจทก์และพยานจําเลยในประเด็นว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 208 (1) ทั้ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จําเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนมีคําพิพากษา และพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้หวงห้ามต่อไปหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นถึงแหล่งที่มาของไม้ของกลาง แล้วนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังกล่าว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาที่จงใจปกปิดภูมิลำเนา การฟ้องคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหา
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2555 ที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ กำหนดวิธีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาไว้หลายวิธี โดยข้อ 37 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "เมื่อองค์คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า จากทางไต่สวนข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานพอที่จะสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการอันมีมูลความผิด ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนมีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบและแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ..." วรรคสองกำหนดว่า "ในการแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนจัดทำเป็นบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุการกระทำและพฤติการณ์ทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียด... ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดี... โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบการแจ้งข้อกล่าวหาไว้เป็นหลักฐานด้วย" ข้อ 38 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนดนัดหรือปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับหนังสือตามข้อ 37 ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการหรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจริง..." วรรคสองกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาหรือไม่ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้มีการปิดประกาศหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาไว้โดยเปิดเผยยังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. และภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา..." ลักษณะการแจ้งข้อกล่าวหาตามระเบียบดังกล่าวพอจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ การมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง ซึ่งปกติต้องส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา การส่งบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น มุ่งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาเพื่อประโยชน์ในการชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา โดยแจ้งไปยังภูมิลำเนาและที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน ซึ่งเป็นสถานที่อยู่สำคัญที่ผู้ถูกกล่าวหาน่าจะได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหา ส่วนการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การไต่สวนให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ กรณีที่ไม่อาจแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ด้วยวิธีอื่น คดีนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาครบทั้งสองลักษณะ สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง การส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น จำเลยที่ 2 จงใจปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลบเลี่ยงมิให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถติดตามดำเนินคดีแก่ตนได้ เจ้าของบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากทะเบียนบ้านแล้วไปเพิ่มชื่อจำเลยที่ 2 ในทะเบียนบ้านของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ย่อมทำให้ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 ได้ ถือได้ว่าการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีอื่นไม่อาจกระทำได้ ต้องนำการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ตามข้อ 38 วรรคสอง มาใช้บังคับ เมื่อการปิดประกาศดังกล่าวกระทำโดยชอบ การสอบสวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐวิสาหกิจแก้ไขสัญญาเอื้อประโยชน์บริษัทเอกชน, ความรับผิดทางอาญาและแพ่ง, การคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ในทางไต่สวนไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้บริษัท อ. ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 (ครั้งที่ 7) ด้วยตนเอง แต่เป็นอำนาจของคณะกรรมการของผู้ร้องโดยต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการของผู้ร้อง จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดตามหน้าที่ คงมีอำนาจบริหารกิจการของผู้ร้องตามที่คณะกรรมการของผู้ร้องมอบหมายเท่านั้น การเข้าทำสัญญาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปตามมติของคณะกรรมการของผู้ร้องย่อมไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 11 เพียงบทเดียว
สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเอกสารประกอบวาระการประชุมที่จัดทำโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ ไปปรึกษาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เรียกนาย ส. และนาย ว. เข้าหารือที่ห้องทำงานของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ร่วมอยู่ด้วยและจำเลยที่ 2 เป็นผู้ปรับแก้ไขเอกสารดังกล่าวนำไปจัดพิมพ์ใหม่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่จำเลยที่ 2 เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการของผู้ร้องมีหน้าที่ดูแลสำนักเลขานุการของผู้ร้องและจัดระเบียบวาระเรื่องที่จะนำเข้าประชุมคณะกรรมการ มิได้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว
สำหรับจำเลยที่ 2 ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเอกสารประกอบวาระการประชุมที่จัดทำโดยฝ่ายบริหารผลประโยชน์ ไปปรึกษาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 เรียกนาย ส. และนาย ว. เข้าหารือที่ห้องทำงานของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 2 ร่วมอยู่ด้วยและจำเลยที่ 2 เป็นผู้ปรับแก้ไขเอกสารดังกล่าวนำไปจัดพิมพ์ใหม่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่จำเลยที่ 2 เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการของผู้ร้องมีหน้าที่ดูแลสำนักเลขานุการของผู้ร้องและจัดระเบียบวาระเรื่องที่จะนำเข้าประชุมคณะกรรมการ มิได้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การครอบครองพื้นที่ และความรับผิดทางแพ่ง
ความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ สามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสมคบร่วมกันกระทำผิดและฉ้อโกงประชาชน: ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติต่างเป็นการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่ประเภทของความผิด การกระทำของจำเลยในความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ประกอบกับโจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดทั้งสองฐานนี้รวมกันมาในคำฟ้อง แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว การกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้นเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อเอาผิดแก่ผู้ที่สมคบกันเพื่อจะกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการสมคบกันแล้วโดยยังไม่ต้องลงมือกระทำความผิดอื่นอีก ดังนี้การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลาการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจะต้องมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเสียก่อนอันเป็นความผิดสำเร็จแล้วจึงจะมีการลงมือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อจากนั้นไปซึ่งเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน เป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้นเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อเอาผิดแก่ผู้ที่สมคบกันเพื่อจะกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการสมคบกันแล้วโดยยังไม่ต้องลงมือกระทำความผิดอื่นอีก ดังนี้การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลาการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติด้วย ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจะต้องมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเสียก่อนอันเป็นความผิดสำเร็จแล้วจึงจะมีการลงมือกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อจากนั้นไปซึ่งเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน เป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนของกลาง: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเป็นผู้ครอบครองในขณะกระทำผิด
โจทก์เคยฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1126/2560 ของศาลชั้นต้น ฐานร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การปฏิเสธเป็นคดีใหม่ โดยให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเฉพาะผู้ร้องและจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีไปโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์ฟ้องหรือไม่ฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด กับพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ที่ให้การรับสารภาพตาม ป.อ. มาตรา 335 ประกอบมาตรา 83, 336 ทวิ และให้ริบรถกระบะหมายเลขทะเบียน ฒถ 6368 กรุงเทพมหานคร และรถกระบะหมายเลขทะเบียน ตษ 7136 กรุงเทพมหานคร ของกลาง ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1407/2560 ของศาลชั้นต้น ภายในกำหนด จึงมีผลให้ต้องจำหน่ายคดีผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1126/2560 ของศาลชั้นต้น โดยเด็ดขาด ถือได้ว่าผู้ร้องมิได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวอีกต่อไป เมื่อในคดีที่ฟ้องใหม่โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบรถกระบะของกลางอีก ประกอบกับในคดีก่อน ผู้ร้องไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาเพื่อแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถกระบะ หมายเลขทะเบียน ตษ 7136 กรุงเทพมหานคร ของกลางที่แท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวที่สั่งริบทรัพย์สินของกลาง อันจะทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถกระบะของกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 36 จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่มีการกระทำความผิด มิใช่เจ้าของทรัพย์สินภายหลังจากการกระทำความผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามรายการจดทะเบียนรถกระบะ หมายเลขทะเบียน ตษ 7136 กรุงเทพมหานคร ของกลางว่า ผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถกระบะของกลาง ภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 3 กระทำความผิดและศาลมีคำพิพากษาให้ริบรถกระบะของกลางและคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของรถกระบะของกลางในขณะที่จำเลยที่ 3 กระทำความผิด และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถกระบะ หมายเลขทะเบียน ตษ 7136 กรุงเทพมหานคร ของกลางได้