พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่ทราบการเสียสัญชาติไทย
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนด30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป เพราะหากโจทก์ไม่มีใบสำคัญประจำตัวแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น แม้พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคือหนังสือประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าว มารดาโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 1 และถือได้ว่ามารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าว การที่นายทะเบียนไม่ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5และ 8 ก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญคนต่างด้าว มิใช่การปฏิเสธสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่ มท 0613.01/2792กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าวทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติ 3 ข้อ และมีข้อความตอนสุดท้ายว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยที่ 2ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5 จำเลยต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 5 จำเลย ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปีไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดสำเร็จเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487-1489/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย แม้บิดามารดาเป็นต่างด้าว และจดทะเบียนชื่อกับสถานทูตอังกฤษ
จำเลยเกิดในประเทศไทยในขณะที่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ใช้บังคับ บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่มารดาเกิดในประเทศไทย แม้เมื่อจำเลยเป็นผู้เยาว์ บิดาได้นำชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456มาตรา 3 ข้อ 3 การที่บิดานำเอาชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ หาทำให้จำเลยเสียสัญชาติไทยไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจาก 'ไม่ต่ออายุใบสำคัญ' เป็น 'ไม่มีใบสำคัญ' เมื่อกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า
คนต่างด้าวซึ่งมีใบสำคัญประจำตัวที่ขาดต่ออายุแล้วก่อนวันใช้ พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 นั้น เมื่อใช้พระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ.2493 แล้วก็ถือว่าใบสำคัญเก่านั้นถูกยกเลิกไป กรณีไม่เข้าตาม มาตรา 28 ต้องถือเป็นคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญตาม มาตรา 5 จึงไม่เป็นผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว (เทียบฎีกาที่ 196/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวใบสำคัญหมดอายุ – หน้าที่ขอใหม่ตามกฎหมายฉบับใหม่ – ฟ้องผิดฐาน
คนต่างด้าวซึ่งมีใบสำคัญประจำตัวที่ขาดต่ออายุแล้วก่อนวันใช้ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 นั้น เมื่อใช้ พ.ร.บ.ฉบับ พ.ศ. 2493 แล้วก็ถือว่าใบสำคัญเก่านั้นถูกยกเลิกไป กรณีไม่เข้าตาม ม.28 ต้องถือเป็นคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญตาม ม.5 จึงไม่เป็นผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะใบสำคัญคนต่างด้าวหมดอายุก่อนใช้ พ.ร.บ.ใหม่ และความผิดฐานไม่มีใบสำคัญ
คนต่างด้าวซึ่งมีใบสำคัญประจำตัวที่ขาดต่ออายุแล้วก่อนวันใช้ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.1493 นั้น เมื่อใช้ พ.ร.บ.ฉบับ พ.ศ.2493 แล้วก็ถือว่าใบสำคัญเก่านั้นถูกยกเลิกไป กรณีไม่เข้าตาม ม.24 ต้องถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบสำคัญตาม ม.5 จึงไม่เป็นผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัว.