พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและมีความผิดตามกฎหมายป้องกันปราบปรามการทุจริต
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่ง และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ขอให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกกล่าวหา กับลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81, 114 วรรคสอง (1), 167
ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ
พิเคราะห์คำร้องประกอบเอกสารท้ายคำร้อง และคำให้การของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบกรณีเข้ารับตำแหน่งแล้ว และมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งภายในวันที่ 2 เมษายน 2564 ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 แต่มิได้กรอกรายการทรัพย์สินและหนี้สินในแบบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งลงลายมือชื่อในแบบ และยื่นเอกสารประกอบไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยแสดงเอกสารประกอบเพียงหนังสือสําคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ผู้ร้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ผู้ถูกกล่าวหาเพิกเฉย ต่อมาผู้ร้องมีหนังสือแจ้งผู้ถูกกล่าวหาให้มารับทราบข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ไม่ยื่นทำนองว่าไม่มีเจตนาเพิกเฉยและขอขยายระยะเวลาในการส่งเอกสารเพิ่มเติม แต่กลับมิได้ดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ปัญหาต้องวินิจฉัยมีว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องและมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาวหรือไม่ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว จึงเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องเมื่อพ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 102 (9) และมาตรา 105 ประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (9) พ.ศ. 2561 โดยกฎหมายมุ่งประสงค์ให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะผู้บริหารท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการทุจริตด้วยการให้บุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง อันจะทำให้ผู้ร้องสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติภายหลังจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีเข้ารับตำแหน่งแล้ว ย่อมแสดงว่าผู้ถูกกล่าวหาทราบรายละเอียดและที่มาแห่งทรัพย์สินรวมทั้งหนี้สินของตนและทราบว่าตนมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่กลับไม่กรอกรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งไม่ยื่นเอกสารประกอบให้ครบถ้วนถูกต้อง ทำให้ผู้ร้องไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหาได้ มีผลเช่นเดียวกับการไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ถูกกล่าวหาดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่ผู้ร้องกำหนดและแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาขอขยายระยะเวลา แต่กลับเพิกเฉยมิได้ดำเนินการตามที่ขอขยายระยะเวลาแต่อย่างใด ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง นอกจากนี้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหายังเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 167 ด้วย
พิพากษาว่า นายชัยภัทรหรือชัยศิริ ตั้งหลัก ผู้ถูกกล่าวหา จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 114 วรรคสอง (1) ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกกล่าวหาตลอดไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 167 จำคุก 2 เดือน และปรับ 8,000 บาท ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ
พิเคราะห์คำร้องประกอบเอกสารท้ายคำร้อง และคำให้การของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบกรณีเข้ารับตำแหน่งแล้ว และมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งภายในวันที่ 2 เมษายน 2564 ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 แต่มิได้กรอกรายการทรัพย์สินและหนี้สินในแบบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งลงลายมือชื่อในแบบ และยื่นเอกสารประกอบไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยแสดงเอกสารประกอบเพียงหนังสือสําคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ผู้ร้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหายื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ผู้ถูกกล่าวหาเพิกเฉย ต่อมาผู้ร้องมีหนังสือแจ้งผู้ถูกกล่าวหาให้มารับทราบข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ไม่ยื่นทำนองว่าไม่มีเจตนาเพิกเฉยและขอขยายระยะเวลาในการส่งเอกสารเพิ่มเติม แต่กลับมิได้ดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ปัญหาต้องวินิจฉัยมีว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องและมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาวหรือไม่ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว จึงเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องเมื่อพ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 102 (9) และมาตรา 105 ประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (9) พ.ศ. 2561 โดยกฎหมายมุ่งประสงค์ให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะผู้บริหารท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการทุจริตด้วยการให้บุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง อันจะทำให้ผู้ร้องสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติภายหลังจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีเข้ารับตำแหน่งแล้ว ย่อมแสดงว่าผู้ถูกกล่าวหาทราบรายละเอียดและที่มาแห่งทรัพย์สินรวมทั้งหนี้สินของตนและทราบว่าตนมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่กลับไม่กรอกรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งไม่ยื่นเอกสารประกอบให้ครบถ้วนถูกต้อง ทำให้ผู้ร้องไม่อาจตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ถูกกล่าวหาได้ มีผลเช่นเดียวกับการไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ถูกกล่าวหาดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่ผู้ร้องกำหนดและแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาขอขยายระยะเวลา แต่กลับเพิกเฉยมิได้ดำเนินการตามที่ขอขยายระยะเวลาแต่อย่างใด ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง นอกจากนี้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหายังเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 167 ด้วย
พิพากษาว่า นายชัยภัทรหรือชัยศิริ ตั้งหลัก ผู้ถูกกล่าวหา จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้องกรณีพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 114 วรรคสอง (1) ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกกล่าวหาตลอดไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 167 จำคุก 2 เดือน และปรับ 8,000 บาท ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเบียดบังทรัพย์สินเช่าซื้อ: ศาลกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุ ...หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ แม้ดอกเบี้ยของราคาใช้แทนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจักรยานยนต์ และค่าหนังสือบอกกล่าวทวงถามตลอดจนค่าติดตามเอารถคืน มิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่โจทก์ร่วมสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยที่เบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของจำเลยโดยทุจริต จึงชอบที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 26,016 บาท นั้น เป็นกรณีที่หากจำเลยไม่ส่งมอบรถจักรยานยนต์ดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมเพื่อราคาวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัด โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงิน 26,016 บาท ได้ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 เมื่อไม่ปรากฏว่าเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาอันหมายถึงเวลาที่ไม่สามารถส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อเกิดขึ้นเมื่อใด โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยราคาใช้แทนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันเป็นวันที่ศาลกำหนดราคาใช้แทนให้ ดังนั้น การที่โจทก์ร่วมมีคำขอและฎีกาขอเรียกดอกเบี้ยของราคาใช้แทนนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้อง อันเป็นช่วงเวลาก่อนวันที่ศาลมีคำพิพากษาจึงไม่อาจกำหนดให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คคืนไม่มีมูลหนี้ คดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
หลังจากโจทก์ฟ้องคดีอาญาแล้ว โจทก์ได้นำเช็คพิพาททั้ง 7 ฉบับ ไปยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง เพื่อเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมที่มีมูลหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 7 ฉบับ แต่ศาลในคดีแพ่งวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญากู้ยืม และไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืม สัญญากู้ยืมจึงไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันและใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ในคดีอาญาโจทก์จึงต้องฟังได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาททั้ง 7 ฉบับ ไม่ใช่หนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์ไม่ใช่คำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความ การอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินเฉพาะส่วน โดยแบ่งการครอบครองเป็นสัดส่วน พร้อมกับขอให้กันส่วนที่ดินเฉพาะส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องออกจากที่ดินก่อนมีการขายทอดตลาด แม้ตามคำร้องจะใช้คำว่าขอให้กันส่วนที่ดินของตน แต่จากเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องประสงค์ขอให้ปล่อยที่ดินเฉพาะส่วนของตนที่ครอบครองเป็นสัดส่วนก่อนมีการขายทอดตลาด อันเป็นการร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 วรรคหนึ่ง ซึ่งถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเท่ากับว่าได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วมีคำสั่งว่า คำร้องขัดทรัพย์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งรับคำร้องไว้ไต่สวน ให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องจึงจะมีคำสั่งคำร้องโดยให้ผู้ร้องชำระให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน แสดงว่าคำร้องของผู้ร้องยังคงมีอยู่ แม้ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ฉบับใหม่และให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเมื่อผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลแล้วให้ตั้งสำนวนเป็นคดีร้องขัดทรัพย์ก็เป็นเพียงคำสั่งเกินเลยจากคำแถลงของผู้ร้องที่ขอชำระค่าขึ้นศาลตามราคาประเมินเท่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งรับคำร้องไว้ไต่สวนและคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ฉบับใหม่ จึงมิใช่คำสั่งที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคท้าย ที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ซึ่งผู้ร้องต้องทำคำโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการกู้ยืม, สัญญาขายฝาก, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, บุคคลภายนอก, การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่า หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืนเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลสมบูรณ์ โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นเอกสารสัญญามหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จากทางนำสืบของโจทก์ โจทก์โอนเงินดอกเบี้ย 2 ครั้ง ให้ ฉ. และ ฉ. โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะเท่ากับดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน จากต้นเงิน 350,000 บาท ซึ่งโอนหลังจากหักดอกเบี้ยล่วงหน้า 2 เดือนแล้ว ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาทำสัญญาขายฝากจริง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องมีการผ่อนชำระดอกเบี้ยแก่กันเพราะการขายฝากที่ดินพิพาทสามารถชำระเงินสินไถ่ให้แก่ผู้ซื้อฝากได้ในคราวเดียวหรือนำเงินสินไถ่ไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนได้ในคราวเดียวกันไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยรายเดือน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมที่มีที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองกู้ยืมเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยึดถือเป็นหลักประกัน โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดชำระเงินกู้ยืม 350,000 บาท แต่การกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเกิดจากการเรียกดอกเบี้ยอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมเป็นโมฆะ การที่โจทก์ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 โจทก์ทั้งสองไม่อาจเรียกคืนได้ แต่ต้องนำเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระไปหักเงินต้นดังกล่าว และเมื่อนิติกรรมการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินพิพาทเป็นหลักประกันจึงตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยข้างต้น ทำให้ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จำเลยที่ 3 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย โจทก์ทั้งสองไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้ สภาพแห่งหนี้จึงไม่อาจเปิดช่องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ จึงต้องรับผิดชดใช้ราคาที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยคิดตามราคาประเมินตามที่โจทก์ทั้งสองมีคำขอและให้นำไปหักเงินกับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองต้องชำระตามสัญญากู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกันส่วนเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 มาก่อน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาให้ไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ตามคำร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงของศาลแพ่ง ซึ่งศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยในที่ดินโฉนดที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 (ใหม่) จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2562 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 แต่อย่างใด และเมื่อได้ความว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง สำเนาคำร้องของผู้ร้องให้แก่โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยระบุด้วยว่าหากจะคัดค้านให้ยื่นคัดค้านก่อนหรือในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าไม่คัดค้าน ซึ่งมีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่บุคคลดังกล่าวแล้ว ครั้นถึงวันนัดพิจารณาคำร้องปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดมาศาล ย่อมถือว่าคู่ความดังกล่าวไม่ได้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงข้างต้น พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงดังกล่าวของศาลแพ่ง และศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องแล้ว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังกล่าวจึงเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิกันส่วนตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตต้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้น สัญญายังคงมีผลผูกพัน
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยผู้รับประกันภัยให้การต่อสู้ว่า สัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นโมฆียะ และจำเลยได้บอกล้างแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด และได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้วภายใน 1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยทราบเหตุอันบอกล้างโดยทราบข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 แต่ตามพยานหลักฐานจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยมอบหมายให้บุคดลใดเป็นผู้ตรวจสอบหรือจำเลยทำการตรวจสอบอย่างไร แต่ปรากฏจากสำเนาบัตรตรวจโรคโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ว่า โรงพยาบาลวารินชำราบ ส่งตัว ป. ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เกี่ยวกับโรคติดสุรา โดยระบุที่มุมด้านข้างของเอกสารว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 และมี ว. เจ้าพนักงานเวชสถิติชำนาญงาน เป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้องเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความ ล. ว่าประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจำเลยได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของ ป. ไปยังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงเวลาดังกล่าวและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้ออกเอกสารตามสำเนาบัตรตรวจโรคให้แก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 แล้ว กำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียกรรม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ที่ตัวแทนของจำเลยได้รับสำเนาประวัติการตรวจรักษาของ ป. ซึ่งเป็นการทราบมูลอันจำเลยจะบอกล้างโมฆียกรรมได้ การที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 20 มิถุนายน 2559 บอกล้างสัญญาประกันชีวิตทั้งสองฉบับไปยังโจทก์ และโจทก์ได้รับหนังสือบอกล้างดังกล่าววันที่ 26 มิถุนายน 2559 จึงพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียกรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4163/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าเช่าค้างชำระถูกปิดปากจากสัญญา
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.1406/2559 ของศาลจังหวัดมีนบุรีซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับโจทก์ โจทก์บุกรุกเข้าอาศัยในห้องชุดพิพาทเป็นการละเมิดจำเลยที่ 2 ขอให้โจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาทพร้อมชดใช้ค่าเสียหาย ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ยินยอมหรือไม่ และโจทก์อยู่อาศัยในห้องชุดพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือไม่ ซึ่งตามสัญญาเช่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าจนครบกำหนดเวลาเช่า ต่อมาโจทก์ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ตกลงกันในทุกประเด็นที่มีการฟ้องก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้วและศาลจังหวัดมีนบุรีได้พิพากษาตามยอมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ที่ระบุว่า โจทก์และจำเลย (จำเลยที่ 2 และโจทก์คดีนี้) ไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ กันอีกย่อมหมายรวมถึง ค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ด้วย โจทก์จึงถูกปิดปากด้วยข้อสัญญาดังกล่าวมิอาจฟ้องค่าเช่าล่วงหน้าที่โจทก์ยังอยู่อาศัยในห้องชุดพิพาทไม่ครบกำหนดได้ และการที่โจทก์ฟ้องขอเรียกค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เจ้าของห้องชุดพิพาท ในลักษณะจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่ากับโจทก์ มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าห้องชุดพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เจ้าของห้องชุดพิพาท ในลักษณะจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่ากับโจทก์ มิใช่กระทำเป็นส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าตามสัญญาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4076/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้จำนอง การไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ผู้ร้องที่ 1 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของ ว. ในคดีแพ่งและเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ที่มีชื่อ ว. ผู้ประกันจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองจึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องที่ 1 ได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 (5) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว เมื่อผู้ร้องที่ 1 โอนขายสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่มีต่อ ว. รวมทั้งบุริมสิทธิจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 ย่อมยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นแทนผู้ร้องที่ 1 ในคดีนี้ได้ โดยได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความที่ให้ทนายความมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินพิพาท หรือผลคดี เป็นโมฆะ
การที่สัญญาว่าจ้างทนายความในคดีที่ฟ้องขับไล่ตกลงจ่ายค่าจ้างว่าความจำนวนร้อยละ 7 ของเนื้อที่ดิน 3,150 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนของเนื้อที่ดินของโฉนดที่ดินพิพาทที่คู่ความให้การต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินพิพาทของลูกความ และถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างจำนวนเงินแน่นอน หากผลคดีฝ่ายจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีย่อมส่งผลให้โจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างทนายความเป็นที่ดิน จึงเป็นการว่าจ้างทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีโดยปริยาย มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ส่วนสัญญาจ้างว่าความในคดีที่ ท. ฟ้องขอเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างเป็นเนื้อที่ดิน 600 ตารางวา จากที่ดินพิพาทโดยยินยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ ท. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท เป็นข้อตกลงที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พิพาท ส่วนข้อตกลงที่ให้โจทก์เลือกเอาการชำระเป็นเงินตามราคาประเมินของทางราชการได้ด้วยนั้น ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างจำนวนเงินแน่นอน เนื่องจากโจทก์อาจถือเอาการชำระเป็นเงินตามราคาประเมินของทางราชการได้ซึ่งราคาประเมินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่ และข้อตกลงที่ว่าไม่คำนึงถึงผลคดีนั้น เห็นว่า หากโจทก์ว่าความแพ้คดีก็ไม่สามารถเข้าเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทได้เพราะ ท. คู่กรณียังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท หาก ท. ไม่ยินยอมก็ไม่สามารถทำได้ โจทก์จะต้องชนะคดีเท่านั้น ดังนี้ จึงเป็นการว่าจ้างที่ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พิพาทในผลแห่งคดีโดยปริยายเช่นกัน อันมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจ้างว่าความจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ส่วนสัญญาจ้างว่าความในคดีที่ ท. ฟ้องขอเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างเป็นเนื้อที่ดิน 600 ตารางวา จากที่ดินพิพาทโดยยินยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวที่ศาลได้มีคำพิพากษาให้ ท. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท เป็นข้อตกลงที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พิพาท ส่วนข้อตกลงที่ให้โจทก์เลือกเอาการชำระเป็นเงินตามราคาประเมินของทางราชการได้ด้วยนั้น ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างจำนวนเงินแน่นอน เนื่องจากโจทก์อาจถือเอาการชำระเป็นเงินตามราคาประเมินของทางราชการได้ซึ่งราคาประเมินดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่ และข้อตกลงที่ว่าไม่คำนึงถึงผลคดีนั้น เห็นว่า หากโจทก์ว่าความแพ้คดีก็ไม่สามารถเข้าเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทได้เพราะ ท. คู่กรณียังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท หาก ท. ไม่ยินยอมก็ไม่สามารถทำได้ โจทก์จะต้องชนะคดีเท่านั้น ดังนี้ จึงเป็นการว่าจ้างที่ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พิพาทในผลแห่งคดีโดยปริยายเช่นกัน อันมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจ้างว่าความจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150