พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐอนุมัติจ้างเหมาเอื้อประโยชน์พวกพ้องละเลยการแข่งขันราคา
จำเลยที่ 1 ตำแหน่งนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย กับมีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อและสั่งจ้างในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 จำเลยที่ 1 ลงนามอนุมัติสั่งซื้อและสั่งจ้างโดยทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีแล้วว่าการดำเนินการจ้างเหมาประกอบอาหารขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุไม่รู้ระเบียบมาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดเทศบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แม้จะไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบระเบียบการดำเนินการจ้างโดยตรง และไม่มีอำนาจอนุมัติการจ้าง รวมทั้งไม่มีหน้าที่ในการตรวจรับการจ้างก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบรายงานที่ต้องเสนอจำเลยที่ 1 พิจารณาอนุมัติตามลำดับชั้น จำเลยที่ 2 ลงนามในบันทึกขออนุมัติตกลงจ้างโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่รู้ว่าเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่ผิดระเบียบ เสนอให้จำเลยที่ 1 ลงนาม โดยมีการดำเนินการในลักษณะเร่งรีบและรวบรัดเพื่อจะกำหนดตัวผู้รับจ้างได้เอง อันเป็นพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำไปเพื่อช่วยเหลือให้ ก. และ ส. เป็นผู้รับจ้างทำสัญญากับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นเหตุให้เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมได้รับความเสียหาย ไม่อาจพิจารณาคัดเลือกหาผู้รับจ้างที่เสนอราคาต่ำที่สุดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีสอบราคาได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาเงินค่าอาหาร หรือทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม ในโครงการส่งเสริมสนับสนุนงานสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151
สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองคลัง ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำกับดูแลภายในกองคลัง ทั้งยังมีฐานะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และมีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การรับรองสิทธิการเบิกเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และเป็นฝ่ายตรวจอนุมัติฎีกาและควบคุมงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่งเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่จำเลยที่ 3 กลับปล่อยให้มีการอนุมัติจัดจ้างด้วยวิธีการที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 โดยไม่ทักท้วง และเสนอความเห็นทำนองรับรองความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 157 (เดิม) ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 3 ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ในการอนุมัติและเห็นชอบให้มีดำเนินการจ้างเหมาประกอบโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่ตามระเบียบจะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีสอบราคา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำไปโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้ ก. และ ส. เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญาจ้างกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม โดยจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองคลัง ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำกับดูแลภายในกองคลัง ทั้งยังมีฐานะเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และมีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การรับรองสิทธิการเบิกเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และเป็นฝ่ายตรวจอนุมัติฎีกาและควบคุมงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองความถูกต้อง การปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามคำสั่งเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อมย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่จำเลยที่ 3 กลับปล่อยให้มีการอนุมัติจัดจ้างด้วยวิธีการที่ขัดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 โดยไม่ทักท้วง และเสนอความเห็นทำนองรับรองความถูกต้องในการปฏิบัติตามระเบียบ เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 ตามมาตรา 157 (เดิม) ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และจำเลยที่ 3 ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ในการอนุมัติและเห็นชอบให้มีดำเนินการจ้างเหมาประกอบโดยวิธีตกลงราคาทั้งที่ตามระเบียบจะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีสอบราคา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำไปโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และเป็นไปในทางเอื้ออำนวยให้ ก. และ ส. เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญาจ้างกับเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม โดยจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ, สนับสนุนความผิด, ความรับผิดทางอาญาของนายก อบต., และการกำหนดโทษ
จำเลยที่ 2 หัวหน้าสำนักงานปลัดมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการ และสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาเป็นผู้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจัดจ้างและเบิกเงินงบประมาณทั้งหมด ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปมีหน้าที่ในขั้นตอนการจัดทำและรับรองเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเห็นชอบการจัดจ้างและเบิกเงินงบประมาณตามที่สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาเสนอมาเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาและเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความลงในเอกสารโดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 (เดิม), 162 (1) (4) (เดิม) อย่างไรก็ตามจำเลยที่ 1 เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างและเบิกจ่ายเงินงบประมาณในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 โดยภาระดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ต้องบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาด้วยความโปร่งใสและไม่ผิดระเบียบแบบแผนของทางราชการ การที่จำเลยที่ 1 ให้ความเห็นชอบอนุมัติการจัดจ้างและเบิกเงินงบประมาณเพื่อจ่ายค่าจ้างปิดกั้นคลองบางแพรกให้แก่จำเลยที่ 3 ทั้งที่รู้อยู่ว่าไม่มีการจัดจ้างจริง เป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนาได้รับความเสียหายต้องสูญเสียเงินงบประมาณไปในการจัดจ้างอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา 157 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้จดข้อความเท็จ ประเด็นการใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายแก้ไขใหม่
ท. ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เรื่องการถอนฟ้องของ ท. เพื่อให้ได้ความกระจ่างว่า ท. มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้จริงหรือไม่ แต่ ม. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อันเนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นวงกว้าง ม. จึงส่งบันทึกถ้อยคำตอบข้อซักถามของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่กระทำในต่างประเทศโดยมีโนตารีพับลิกและสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่นรับรองว่า ม. ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าตนต่อศาลชั้นต้นแทนการให้ถ้อยคำด้วยวาจาซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการสอบถามข้อเท็จจริงด้วยวาจาได้ ทั้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. ด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปาก ม. ที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230/1 ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของ ม. ระบุว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และตราประทับที่ ท. ได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับ ท. ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของ ท. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และปรากฏตามหนังสือรับรองข้อเท็จจริงว่า ม. ในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ถอนฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเป็นข้าราชการร่วมกระทำความผิดค้ามนุษย์ ต้องโทษจำคุกเป็นสองเท่าตามกฎหมายเฉพาะ
โดยสภาพการจ้างงานและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการตามที่กำหนดไว้ในระเบียบและกฎหมาย มีลักษณะแตกต่างจากลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ พนักงานราชการจึงมิใช่ลูกจ้างชั่วคราว แต่เป็นพนักงานของรัฐซึ่งถือว่าเป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองหลังแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 ในฐานะผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 ภายหลังจากวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ (วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558) จึงไม่จำต้องรับผิดในหนี้ที่ประกันเกินราคาที่ดินจำนองในเวลาบังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 727/1 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับ (ใช้บังคับวันที่ 15 กรกฎาคม 2558) ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมจึงยังคงใช้บังคับได้ และไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 681/1 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 727/1 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองเนื่องจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 ไม่ได้บัญญัติถึงการใช้บังคับมาตรา 681/1 (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 727/1 (ที่แก้ไขใหม่) ไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวกัน - สิทธิฟ้องระงับ - ยาเสพติด - ครอบครองเพื่อจำหน่าย - การแยกของกลาง
เมทแอมเฟตามีน 1,140 เม็ด ที่จำเลยทั้งสองแบ่งมาไว้ที่ห้องเช่าเพื่อเสพและจำหน่ายนั้น เป็นจำนวนเดียวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองซุกซ่อนไว้ที่คอกวัวของ ค. โดยจำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกัน เป็นเพียงแต่จำเลยทั้งสองแยกเอาเมทแอมเฟตามีนบางส่วนมาไว้ที่ห้องเช่า ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสองซุกซ่อนไว้มิได้นำติดตัวไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 1,140 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4425/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าการงานที่ยังไม่เสร็จ & ค่าเสียหายจากบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายใหม่, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง, 391 วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคสี่ มิได้กำหนดว่าผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินเป็นค่าการงานที่ได้กระทำไปแล้วต้องมิใช่ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น แม้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินเป็นค่าการงานที่จำเลยได้กระทำให้แก่โจทก์ไปแล้วได้ เพียงแต่หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำให้คดีอาญา (เช็ค) ระงับตามกฎหมาย
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จำเลยทั้งสองนำเงินเต็มตามจำนวนที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่าย ในวันนัดพร้อมทนายโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์จะรับเงินดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลไป ประกอบกับโจทก์และจำเลยทั้งสองยังมีคดีพิพาทกันอีกหลายเรื่อง ไม่ประสงค์จะยอมความกันในคดีนี้ โดยทนายโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านแสดงเหตุผลให้ชัดแจ้งว่า การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์นั้น ไม่ทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันเพราะเหตุใด คงอ้างเพียงว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยังมีคดีพิพาทกันอีกหลายเรื่อง ซึ่งเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่อาจยกขึ้นอ้างได้ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ เช่นนี้การวางเงินของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการเพื่อชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์อันทำให้หนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม: การแยกพิจารณาความผิดแต่ละกรรมและข้อยกเว้นโทษ
จำเลยปลอมเช็คของผู้เสียหายที่ 1 รวม 3 ฉบับ และนำเช็คที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าว 2 ฉบับ ไปใช้อ้างต่างกรรมต่างวาระ รวม 3 ครั้ง จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม รวม 3 กระทง ตามจำนวนครั้งที่นำตั๋วเงินปลอมออกใช้ แต่สำหรับเช็คฉบับเลขที่ 00134343 ซึ่งจำเลยทำปลอมขึ้นนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำออกใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินสำหรับเช็คฉบับนี้ตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) ด้วยอีกกระทงหนึ่ง
การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก
การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก