คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชัย เพ็งผ่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ไม่ถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตามกฎหมาย
คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่ลงแก่จำเลยได้ คดีนี้โจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานพฤติเหตุแวดล้อมแน่นหนามั่นคง โดยเฉพาะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ศาลก็ได้อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยอีก ทั้งตามรูปคดีที่โจทก์นำสืบก็มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน หาใช่เพราะสำนึกในความผิดไม่ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษอันจะพึงลดโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงใกล้ชิด และการคำนวณลดโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้ตายที่ 1 จำคุกตลอดชีวิต ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 ให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 50 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนนั้น ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ชายทะเล การพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการบังคับใช้กฎหมายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ชายทะเล และอยู่นอกเขต น.ส. 3 ก. ของบิดาจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าบุคคลใดมีเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว จึงถือว่าเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 108 วรรคหนึ่ง หรือต้องมีการเวนคืนให้ที่ดินตกมาเป็นของรัฐ หรือร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเสียก่อน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคห้า บัญญัติว่า ในระหว่างอุทธรณ์ ไม่ให้ผู้อุทธรณ์หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการใดแก่อาคารอันเป็นมูลกรณีแห่งการอุทธรณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง ระหว่างจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ได้
เมื่อจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 และ ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคสอง โดยมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารพักอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ ได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหาก เพราะเป็นการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันวินาศภัยในคดีลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย: การพิจารณาช่วงเวลาการครอบครองรถยนต์ที่ถูกลักไป
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า บ. กับพวกร่วมกันลักรถยนต์พิพาทซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองโดยใช้กลอุบายและผู้ร้องหลงเชื่อนำรถยนต์พิพาทไปมอบให้และได้ค่าเช่าตอบแทน การที่ผู้ร้องส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ บ. กับพวก แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่วางไว้เพื่อประสงค์จะลักรถยนต์พิพาท แต่ในขณะนั้น บ. กับพวกยังไม่ได้ลงมือแย่งการครอบครองหรือเอารถยนต์พิพาทไปจากผู้ร้อง จึงไม่อาจถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่ลักทรัพย์สำเร็จ ต่อมาเมื่อ บ. กับพวกไม่ชำระค่าเช่าแล้วหลบหนีไปพร้อมรถยนต์พิพาท จึงให้ตัวแทนไปทำการร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 จึงถือได้ว่า บ. กับพวก เอารถยนต์คันดังกล่าวไปจากการครอบครองของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องไม่อาจตามหา บ. กับพวก ถือได้ว่าวันที่ร้องทุกข์เป็นวันที่ผู้ร้องถูก บ. กับพวกลักรถยนต์พิพาทไปอันเป็นวันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 จึงยังไม่พ้นกำหนดสองปี คดีของผู้ร้องยังไม่ขาดอายุความ ดังนั้น ที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าคดีของผู้ร้องขาดอายุความ การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้สักในที่ดินมีสิทธิครอบครองไม่เป็นไม้หวงห้าม การทำไม้จึงไม่ผิดตามกฎหมายป่าไม้
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่ใช้บังคับอยู่เดิม โดยมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า "...ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม..." ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ไม้สักของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่พ่อตาจำเลยมีสิทธิครอบครองตาม ป.ที่ดิน ไม้สักดังกล่าวจึงมิใช่เป็นไม้หวงห้าม การที่จำเลยตัดฟันไม้สักของกลางในที่ดินดังกล่าว แล้วมีการแปรรูปนำมาเก็บรักษาไว้ในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้องอีกต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2 และเมื่อไม้สักของกลางเป็นไม้สักที่จำเลยได้มาโดยชอบ จึงไม่อาจริบได้ ต้องคืนให้แก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: จำเป็นต้องสอบคำให้การจำเลยในส่วนแพ่งก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พร้อมทั้งขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งการพิจารณาคดีในส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 และคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยยังมิได้สอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพตามฟ้องเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลต้องยกฟ้อง
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาจึงต้องยกฟ้องของโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืน และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการบรรยายฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย แม้โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2563

of 7