คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ เรืองเพชร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงกับแจ้งความเท็จ: กรรมเดียวหรือหลายกรรม, การคืนเงินค่าเสียหาย
แม้โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาขอให้กำหนดโทษจําเลยในข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ เนื่องจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาฉ้อโกง แต่ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ร่วมเกี่ยวพันกับความผิดข้อหาฉ้อโกงที่โจทก์ร่วมมีสิทธิฎีกา ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คําฟ้องของโจทก์แยกเป็นข้อ ก. และข้อ ข. แต่ใช้วันเวลากระทำผิดเดียวกัน ข้อ ก. ระบุว่า จําเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่า จําเลยประสงค์ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อจึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลย และมอบเงินให้จําเลย ข้อ ข. ระบุว่า จําเลยแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสัญญาขายฝากที่ดินอันเป็นเอกสารราชการว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างอันเป็นความเท็จ ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 หลงเชื่อและจดข้อความดังกล่าวลงในหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน เห็นได้ว่าการที่จําเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามข้อ ข. เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการฉ้อโกงตามข้อ ก. อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อหลอกลวงเงินจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จําเลยขายฝากที่ดินให้โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง ความจริงที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานฉ้อโกง และมีคําขอให้จําเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยจึงต้องคืนเงินเต็มจำนวนแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จําเลยจดทะเบียนขายฝากให้แก่โจทก์ร่วม จําเลยต้องดำเนินการตามสิทธิของตนเองต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าแม้แจ้งหลังกำหนด แต่การตีความสัญญาต้องคำนึงถึงเหตุผลทางธุรกิจและการขัดแย้งของกฎหมาย
หนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ข้อ 2 มีข้อความเช่นเดียวกันว่า เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วน จำเลยยอมชำระเงินแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหนังสือค้ำประกันทุกฉบับที่จำเลยมอบแก่โจทก์ก็เพื่อค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดในช่วงระยะเวลาที่หนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับกำหนดไว้ เพราะหากพ้นจากช่วงระยะเวลาดังกล่าวของหนังสือค้ำประกันฉบับใดฉบับหนึ่ง ก็ไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแก่โจทก์ในฉบับนั้น อันมีผลให้โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทนผู้ร้องสอดได้ และหากตีความว่าเมื่อผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือค้ำประกันก็ตาม โจทก์ยังต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละฉบับ ย่อมขัดต่อความประสงค์และมุ่งหมายที่โจทก์ให้จำเลยค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดอย่างแท้จริง ทั้งจำเลยประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือค้ำประกันหนี้ของลูกค้า เช่นผู้ร้องสอด จากผู้ร้องสอดเป็นเงินตอบแทนในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของยอดวงเงินค้ำประกัน ซึ่งคิดเป็นรายปี จำเลยย่อมทราบดีว่าในกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า ลูกหนี้ที่ตนค้ำประกันประพฤติผิดสัญญา ย่อมมีข้อโต้แย้งทำให้ไม่อาจแจ้งเหตุให้จำเลยทราบได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังเช่นคดีนี้ โจทก์อ้างว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาตั้งแต่การส่งมอบงานชุดแรกในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 และมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ภายหลังจากโจทก์แจ้งถึงการผิดสัญญาให้ผู้ร้องสอดทราบและบอกเลิกสัญญาแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน โดยถือเอาวันที่ผู้ร้องสอดปฏิบัติผิดสัญญาในระหว่างช่วงเวลาที่หนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดกำหนดไว้ แม้จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวก็หามีผลให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไม่ จึงชอบด้วยหลักการตีความสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 เมื่อคำนึงประกอบกับสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ซึ่งระบุข้อความในข้อ 16.3 เช่นเดียวกันว่า "ในกรณีข้อพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาท คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ผลของการพิจารณาจากอนุญาโตตุลาการ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดในข้อพิพาทนั้น" ย่อมมีผลให้โจทก์ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการว่าผู้ร้องสอดผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเท่าใด ซึ่งตามสภาพการณ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาพิจารณาเนิ่นนานพอสมควร โจทก์ย่อมไม่อาจแจ้งถึงความรับผิดของผู้ร้องสอดให้จำเลยทราบภายในกำหนดเวลาของหนังสือค้ำประกันแต่ละฉบับได้ ซึ่งจะมีผลให้หนังสือค้ำประกันสิ้นผลไปโดยปริยายและไม่มีประโยชน์อันใดที่โจทก์ต้องให้จำเลยทำหนังสือค้ำประกันการทำงานของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ อันจะเป็นการขัดแย้งกับหลักการตีความตาม ป.พ.พ. มาตรา 10 เช่นนี้ การตีความสัญญาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยต้องรับผิดในการผิดสัญญาของผู้ร้องสอดแก่โจทก์ แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้วจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การที่โจทก์มิได้ทวงถามให้ผู้ร้องสอดชำระหนี้แก่โจทก์ก่อน ผู้ร้องสอดจึงยังมิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดตามหนังสือค้ำประกันทั้งสี่ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง ทั้งผู้ร้องสอดก็กล่าวอ้างเพียงว่าแม้คณะอนุญาโตตุลาการจะได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดรับผิดต่อโจทก์ แต่ผู้ร้องสอดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อันเป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งหากคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการถูกศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนแล้ว ผู้ร้องสอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันได้อีกต่อไป โดยไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้โจทก์ต้องนำสืบว่า โจทก์ได้เรียกร้องให้ผู้ร้องสอดรับผิดเพราะเหตุผิดสัญญา และผู้ร้องสอดผิดนัดแล้วจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกัน ดังนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องสอดในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ผู้ร้องสอดมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้ผู้ร้องสอดฎีกาปัญหาข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและผู้ร้องสอดร่วมกันชดใช้เงิน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรา 7 และมาตรา 224 ว่าให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี รวมเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงคิดดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารเรือนแถวและสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ผู้ร้องสอดและจำเลยจึงต้องรับผิดโดยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์ขอ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานล่าสัตว์ในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ การกระทำความผิดกรรมเดียวแต่หลายบท และการแก้ไขปรับบทโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานในการลงโทษจำเลย แต่เป็นการห้ามมิให้รับฟังเฉพาะคำรับสารภาพของจำเลยเป็นพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลยนั้นเอง มิได้ห้ามรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมของจำเลยอื่นด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลย่อมนำถ้อยคำในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกที่พาดพิงว่า จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกระทำความผิดด้วย มารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ และคำให้การในชั้นสอบสวนถือเป็นพยานบอกเล่าและพยานซัดทอด แต่กฎหมายมิได้ห้ามรับฟังเสียทีเดียว หากมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานประกอบอื่นมาสนับสนุน ก็สามารถรับฟังลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 227/1
ป่าที่เกิดเหตุเป็นเขตอุทยานแห่งชาติและเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองจึงเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่งด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ และความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติกับความผิดฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ฐานร่วมกันกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ฐานร่วมกันกระทำให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ภายในเขตอุทยานแห่งชาติด้วยประการใด ๆ และฐานร่วมกันยิงปืนในเขตอุทยานแห่งชาติ ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติต่างกรรมกับความผิดฐานอื่นจึงไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ต้องระบุการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลและผู้กระทำต้องรู้
คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้พอจับใจความได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากผิดสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ อันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุเช่นนั้น คงบรรยายเพียงว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยคาดหมายว่าโจทก์อาจฟ้องร้องบังคับคดีเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารปลอมเพื่อขอสินเชื่อ ศาลฎีกาแก้ให้ไม่รอการลงโทษ
จำเลยปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลผู้เสียหายที่ 1 ในสัญญาเงินกู้จำนวน 4,200,000 บาท สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 1,800,000 บาท และสัญญามอบสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันจำนวน 1,800,000 บาท และปลอมลายมือชื่อ ธ. ในฐานะส่วนตัว ในสัญญาค้ำประกันสองฉบับเพื่อค้ำประกันสัญญาเงินกู้ข้างต้น หลังจากนั้นจำเลยนำสัญญาทุกฉบับไปใช้อ้างแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอกู้ยืมเงินในเวลาเดียวกัน ดังนี้ แม้สัญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารคนละฉบับกัน แต่จำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพื่อมุ่งหมายที่จะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสาธารณสมบัติฯ หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีที่ดิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้ยกคำร้องขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน โจทก์มิได้ฎีกา คดีอาญาจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ส่วนข้อวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เป็นเพียงมูลเหตุแห่งคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว คู่ความชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ยกฎีกาจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษและรอการลงโทษคดีไม้หวงห้าม โดยพิจารณาจากคำรับสารภาพ การยอมสละข้อต่อสู้ และเหตุผลในการบรรเทาโทษ
การที่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์ว่า กระทำความผิดทุกกระทงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่เป็นการแก้ไขคำให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพในชั้นอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่ถือได้ว่าจำเลยยอมสละข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ด้วยการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่อีกต่อไป ถือเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตาม ป.อ. มาตรา 78 จึงมีเหตุลดโทษให้แก่จำเลยบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีค้ามนุษย์: จำเลยมีหน้าที่เพียงแนะนำลูกค้า ไม่ใช่ผู้ดูแลสถานการค้าประเวณี
จำเลยเป็นเพียงพนักงานคนหนึ่งในร้านที่เกิดเหตุที่ช่วยแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับหญิงที่ค้าประเวณีเท่านั้น ไม่ได้ดูแลกิจการของร้านที่เกิดเหตุทั้งหมดและไม่มีอำนาจสั่งการหรือกำหนดกฎเกณฑ์ให้หญิงค้าประเวณีปฏิบัติเพื่อกิจการการค้าประเวณี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดูแลสถานการค้าประเวณีและเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืน: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาครอบครองของจำเลย นอกเหนือจากหลักฐานการพบเจอ
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (6) ให้ความหมายของคำว่า "มี" ไว้ว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกในการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางดังกล่าว ประกอบกับการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ลำพังเพียงจำเลยซึ่งเป็นภริยา อ. ไปกับ อ. ในวันที่มีการซื้อขายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง และจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุซึ่งตรวจค้นพบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง โดยที่บ้านดังกล่าวเป็นบ้านที่ อ. พักอาศัยอยู่ด้วยนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
of 4