พบผลลัพธ์ทั้งหมด 727 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีอาญา: การพิจารณาบทหนัก-เบา และเจตนาโจทก์ในการขอลงโทษ
แม้ฟ้องโจทก์บรรยายครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว อันเป็นบทหนักที่บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษสูงขึ้น และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ยังคงบัญญัติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ โดยมาตรา 14 (1) และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันเกินอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว และระบุขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และมาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเบามีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมิได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นบทหนัก ย่อมแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในข้อหาฉ้อโกง และความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 เท่านั้น ไม่อาจถือว่าโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษบทหนักตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชนและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การพิสูจน์การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และการลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จผ่านทางโปรแกรมเฟซบุ๊กตามฟ้อง เสนอขายสินค้าซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาขายสินค้าดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องกล่าวหาด้วยว่าเป็นการหลอกลวงเสนอขายสินค้าต่อประชาชนอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และไม่ได้บรรยายว่าการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ส่วนบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้อง โจทก์ก็ไม่บรรยายว่าเฟซบุ๊กดังกล่าวเปิดเป็นสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ อันจะถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน และการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน โจทก์จึงบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 และปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้มา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จอันเป็นการกระทำต่อบุคคลใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ ย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันและเวลาเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงโดยการส่งข้อความเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้เสียหายผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องรวม 2 ครั้ง และผู้เสียหายซื้อสินค้าต่างชนิดกัน 2 ครั้ง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายในการซื้อสินค้าต่างชนิดกันรวม 2 ครั้ง จึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันและเวลาเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงโดยการส่งข้อความเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้เสียหายผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องรวม 2 ครั้ง และผู้เสียหายซื้อสินค้าต่างชนิดกัน 2 ครั้ง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายในการซื้อสินค้าต่างชนิดกันรวม 2 ครั้ง จึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือนำสืบพยานหลักฐานเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำจะต้องมีการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะทนายความโจทก์ ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 มิใช่การนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี แต่เป็นอำนาจที่จำเลยที่ 2 กระทำได้ตามที่โจทก์มอบหมายไว้ในใบแต่งทนายความ หากการกระทำของจำเลยที่ 2 ฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหายอย่างไร ก็ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่มีมูลความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกลุ่มออมทรัพย์ฯ และกรรมการ: การเป็นคู่ความที่มิชอบตามกฎหมาย
เดิมโจทก์ใช้ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นชื่อคู่ความ ต่อมาแก้ฟ้องใช้ชื่อ ส. กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นคู่ความแทน เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตาม ป.พ.พ. จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ดังนั้น ส. กับพวก ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แม้ ส. กับ จ. จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว แต่ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว จึงไม่สามารถมอบอำนาจให้ ภ. ดำเนินคดีแทนได้ เมื่อ ส. กับพวกไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง-ปลอมแปลงเอกสาร: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว, เอกสารราชการ/เอกสารทั่วไป
แบบส่งเงินอายัด เป็นเอกสารที่ธนาคารจัดส่งเงินฝากในบัญชีของจำเลยที่ 1 มาให้สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี ตามคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 326/2558 ของศาลจังหวัดเพชรบุรี ไม่ใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ รวมทั้งไม่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) และ (9) จึงเป็นเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 1 (7) เท่านั้น
ส่วนใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่เพื่อมอบให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ จึงเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) แต่ไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ล้วนเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อหลอกลวงโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองทยอยมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ในแต่ละครั้ง รวม 70 ครั้ง เป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
ส่วนใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นในหน้าที่เพื่อมอบให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ จึงเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) แต่ไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) ในความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ล้วนเป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อหลอกลวงโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองทยอยมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ในแต่ละครั้ง รวม 70 ครั้ง เป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การแสดงข้อมูลเท็จเพื่อชักชวนลงทุน และความเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการสอบสวน
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2560 โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้ถูกหลอกลวงมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยกับพวกอันจะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงชอบแล้ว โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนได้
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดใช้เช็คปลอม หลอกลวงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลแก้คำพิพากษาให้คืนที่ดินหรือใช้ราคาแทน
โจทก์ร่วมหลงเชื่อตามที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงจึงไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้ผู้รับโอนจะไม่ใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้หลอกลวง แต่การที่ ฐ. ได้ไปซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ร่วม จึงเป็นการได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงให้ทำเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 341 ไม่ใช่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ได้ไปซึ่งเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก ฐ. จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นของโจทก์ร่วมให้แก่โจทก์ร่วม หากจำเลยที่ 1 คืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ร่วมไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ราคาแทนให้แก่โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลบัตรเครดิตไม่ใช่'วัตถุ'แห่งความผิดฐานลักทรัพย์ ตามนิยามบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในประมวลกฎหมายอาญา
บัตรเครดิตที่มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ ถือเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 1 (14) (ก) ส่วนหมายเลขบนบัตรเครดิตจำนวนสิบหกหลัก วันหมดอายุ และเลขสามตัว (CVV) หลังบัตรเครดิต เป็นเพียงข้อมูลของบัตรเครดิต จึงไม่มีรูปร่างที่จะเป็นวัตถุแห่งการกระทำผิดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เมื่อจำเลยนำข้อมูลหลังบัตรเครดิตไปใช้ชำระค่าซื้อสินค้าหรือบริการกับผู้ขายสินค้าหรือร้านขายสินค้าออนไลน์บนเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอก: ฟ้องไม่ขัดแย้งหากศาลเลือกลงโทษฐานใดฐานหนึ่ง
แม้คำฟ้องจะบรรยายความผิดฐานฉ้อโกงมาด้วย แต่การกระทำอันเดียวกันอาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกฐานหนึ่งฐานใดก็ได้ และเป็นเรื่องในใจของจำเลยว่าจำเลยมีเจตนาปลอมใบส่งของและใบเสร็จรับเงินเพื่อการหลอกลวงให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานยักยอกของตน กรณีจึงไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องหรือหลงต่อสู้ ทั้งฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้นจึงไม่เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันเองหรือเคลือบคลุม ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการปกปิดการจัดสรรที่ดินและการก่อสร้างอาคารบนที่ดินสาธารณูปโภค ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
โจทก์ทั้งสิบสองซื้อบ้านและที่ดิน โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 โดยจำเลยทั้งสองและ จ. ปกปิดข้อความจริงว่า โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรตามกฎหมายและ จ. แจ้งว่าโครงการจัดให้มีลานจอดรถอันเป็นสาธารณูปโภค โจทก์ทั้งสิบสองชำระเงินครบถ้วนและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านแล้ว ดังนั้น เงินค่าซื้อที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งสองได้รับจากโจทก์ทั้งสิบสอง จึงเกิดจากการซื้อขายที่ดินและบ้าน มิใช่เกิดจากการปกปิดข้อความจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ขออนุญาตจากทางราชการให้ดำเนินการจัดสรรที่ดิน ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ทั้งสิบสอง และที่จำเลยทั้งสองไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ จ. จัดให้เป็นลานจอดรถโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบนั้น มิใช่การปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเพราะจำเลยทั้งสองไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ทั้งสิบสองเพราะที่ดินเป็นลานจอดรถยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ส่วนการที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นบนที่ดินสาธารณูปโภคที่เป็นลานจอดรถ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามคำมั่นของ จ. ที่ให้ไว้กับโจทก์ทั้งสิบสองเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341