คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สว่าง ภูวะปัจฉิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการจัดการทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด: ศาลเคารพข้อตกลงของคู่ความเหนือบทบัญญัติมาตรา 260
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด ศาลต้องเคารพ
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแทงทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากลักษณะการกระทำและเหตุผล
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายขึ้นมาในขณะที่ดื่มสุรากัน จำเลยจึงใช้มีดยาวทั้งด้าม 35 เซนติเมตร ตัวมีดยาว 15 เซนติเมตร ใบมีดกว้าง 3 เซนติเมตร แทงผู้เสียหาย 1 ที ที่บนเรือน ถูกผู้เสียหายที่หน้าอกขวา ทะลุปอด แล้วมิได้แทงซ้ำอีกทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะแทงอีกได้ แม้เมื่อผู้เสียหายตกลงไปข้างล่างแล้ว จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปทำร้ายอีกไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแต่เพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำและความต่อเนื่องของการทำร้าย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายขึ้นมาในขณะที่ดื่มสุรากันจำเลยจึงใช้มีดยาวทั้งด้าม 35 เซ็นติเมตรตัวมีดยาว15เซ็นติเมตร ใบมีดกว้าง3 เซ็นติเมตร แทงผู้เสียหาย 1 ทีที่บนเรือนถูกผู้เสียหายที่หน้าอกขวา ทะลุปอดแล้วมิได้แทงซ้ำอีก ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะแทงอีกได้ แม้เมื่อผู้เสียหายตกลงไปข้างล่างแล้ว จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปทำร้ายอีกไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแต่เพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: การแย่งมีดจากผู้บุกรุกและใช้เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต
การที่ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนเรือนจำเลยและเงื้อมีดเข้าไปที่จำเลยนั่งอยู่แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่ผู้ตายทำเช่นนั้น แต่ลักษณะท่าทางของผู้ตายที่เงื้อมีดเข้าไปหาจำเลยแสดงว่าผู้ตายเข้าไปจะแทงจำเลยซึ่งเป็นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยจึงเข้าต่อสู้แย่งมีดจากผู้ตายมาได้ และในสถานการณ์เช่นนั้นจำเลยย่อมไม่มีเวลาคิดว่าจะควรใช้มีดนั้นหรือไม่เพียงใด ทั้งในขณะเดียวกันนั้นผู้ตายก็ได้ทำการต่อสู้แย่งมีดคืน อันตรายหาได้หมดไปไม่ จำเลยจึงใช้มีดนั้นแทงผู้ตายไปทันทีรวมสองครั้งในขณะที่มีการต่อสู้กันอยู่ การกระทำของจำเลยเท่าที่ได้ทำไปนั้นเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด มีดของกลางเป็นมีดของผู้ตายนำมาใช้ในการกระทำผิดให้ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การแย่งมีดจากผู้ทำร้ายและใช้ป้องกันตนเอง
การที่ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนเรือนจำเลยและเงื้อมีดเข้าไปที่จำเลยนั่งอยู่ แม้จะไม่ทราบ สาเหตุที่ผู้ตายทำเช่นนั้น แต่ลักษณะท่าทางของผู้ตายที่เงื้อมีดเข้าไปหาจำเลย แสดงว่าผู้ตายเข้าไปจะแทงจำเลยซึ่งเป็นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยจึงเข้าต่อสู้แย่งมีดจากผู้ตายมาได้ และในสถานการณ์เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่มีเวลาคิดว่าจะควรใช้มีดนั้นหรือไม่เพียงใด ทั้งในขณะเดียวกันนั้นผู้ตายก็ได้ทำการต่อสู้แย่งมีดคืน อันตรายหาได้หมดไปไม่ จำเลยจึงใช้มีดนั้นแทงผู้ตายไปทันทีรวมสองครั้งในขณะที่มีการต่อสู้กันอยู่ การกระทำของจำเลยเท่าที่ได้ทำไปนั้นเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด มีดของกลางเป็นมีดของผู้ตายนำมาใช้ในการกระทำผิดให้ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89-90/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันออก: ไม่เป็นความผิดทางอาญา ผู้ทรงเช็คลงวันได้แต่ไม่ทำให้เกิดความผิด
ลักษณะความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือฐานออกเช็คโดยรู้อยู่แล้วว่าในขณะออกเช็คไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้น สารสำคัญของความผิดทั้งสองฐานนี้อยู่ที่วันออกเช็ค คือ วันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น ถ้าเช็ครายใดผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่ออกเช็ค ก็ไม่มีทางที่จะให้ผู้ออกเช็คทราบได้ว่าจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นในวันใด ซึ่งวันนั้นผู้ออกเช็คจะได้เตรียมเงินไว้ในบัญชีที่ธนาคารอันจะพึงจ่ายเงินตามเช็คนั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เช็คที่ไม่มีวันออกเช็ค ถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 910 ประกอบกับมาตรา 989 จะให้สิทธิผู้ทรงเช็คไว้ว่าถ้าเช็ครายใดมิได้ลงวันออกเช็ค ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริต จะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ นั้น กฎหมายเพียงแต่ให้เช็คฉบับนั้นเป็นเช็คที่มีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายฟ้องร้องบังคัดคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น แต่หามีผลที่จะลงโทษผู้ออกเช็คในทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อนุมาตรา (1) และ (2) ไม่
การที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้ออกเช็คดังกล่าวในวรรคต้น จะถือว่านำความเท็จมาฟ้องต่อศาลว่าผู้ออกเช็คกระทำผิดอาญาไม่ได้ เพราะมีเหตุที่ทำให้ผู้ทรงเข้าใจผิดคือสิทธิของผู้ทรงเช็คมีสิทธิในอันที่จะลงวันออกเช็คในเช็ครายพิพาทใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89-90/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันออก สิทธิผู้ทรงเช็ค vs ความผิดฐานออกเช็ค การฟ้องเท็จ
ลักษณะความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะมิให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือฐานออกเช็คโดยรู้อยู่แล้วว่าในขณะออกเช็คไม่มีเงินในบัญชีอันจะพึงจ่ายให้ได้นั้น สารสำคัญของความผิดทั้งสองฐานนี้อยู่ที่วันออกเช็คคือวันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น ถ้าเช็ครายใดผู้ออกเช็คไม่ได้ลงวันที่ออกเช็คก็ไม่มีทางที่จะให้ผู้ออกเช็คทราบได้ว่าจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นในวันใดซึ่งวันนั้นผู้ออกเช็คจะได้เตรียมเงินไว้ในบัญชีที่ธนาคารอันจะพึงจ่ายเงินตามเช็คนั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเช็คที่ไม่มีวันออกเช็ค ถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำผิด แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบกับมาตรา 989 จะให้สิทธิผู้ทรงเช็คไว้ว่า ถ้าเช็ครายใดมิได้ลงวันออกเช็ค ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้นั้น กฎหมายเพียงแต่ให้เช็คฉบับนั้นเป็นเช็คที่มีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น แต่หามีผลที่จะลงโทษผู้ออกเช็คในทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อนุมาตรา (1) และ (2) ไม่
การที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้ออกเช็คดังกล่าวในวรรคต้น จะถือว่านำความเท็จมาฟ้องต่อศาลว่าผู้ออกเช็คกระทำผิดอาญาไม่ได้เพราะมีเหตุที่ทำให้ผู้ทรงเข้าใจผิดว่า ผู้ทรงเช็คมีสิทธิในอันที่จะลงวันออกเช็คในเช็ครายพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันตัวชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเพื่อป้องกันการถูกทำร้ายด้วยอาวุธ
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายมีมีดจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยจึงฟันผู้ตายไปเพียงทีเดียวถูกกะโหลกศีรษะแตกเห็นมันสมองถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยฟันผู้ตายเพื่อป้องกันการทำร้าย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายมีมีดจะเข้าทำร้ายจำเลย.จำเลยจึงฟันผู้ตายไปเพียงทีเดียวถูกกะโหลกศรีษะแตกเห็นมันสมองถึงแก่ความตาย. การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย. จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68.
of 47