คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายนิ้วมือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานและเจตนาในการยกทรัพย์
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คนส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่าผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมด ในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า" ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า"เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรมเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน และเจตนายกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมดในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขสัญญากู้ยืมหลังพิมพ์ลายนิ้วมือ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยผู้เยาว์ ยังมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ชั้นแรกจำเลยขอกู้เงิน 4,000 บาท รวมกับจำนวนที่กู้เดิม 2,000 บาท เป็น 6,000 บาท เมื่อผู้เขียนสัญญาเขียนจำนวน 6,000 บาทไปแล้ว จำเลยขอเพิ่มอีก 1,000 บาทรวมเป็น 7,000 บาท ผู้เขียนจึงแก้เลข 6 เป็นเลข 7 และแก้ตัวอักษรด้วย ดังนี้ เป็นการแก้ให้ตรงตามความประสงค์ของจำเลย ก่อนที่จำเลยจะพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญากู้ และคู่กรณีมีเจตนาจะให้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ตามจำนวนที่แก้ไปแล้ว คือ 7,000 บาทฉะนั้นแม้ตัวเลขและตัวอักษรที่แก้ไปจะไม่ได้ลงชื่อกำกับ ก็ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยสมบูรณ์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า ผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยเดิมในพินัยกรรม ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้พิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยพิมพ์นิ้วมือที่ลงไว้ไม่ชัดอีกครั้งหนึ่ง แม้ลายพิมพ์นิ้วมือนี้จะเลอะเลือนจนดูไม่ชัด ก็ไม่กลายเป็นแกงได และการกระทำเช่นนี้หาเป็นการขูดลบตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อ vs. ลายนิ้วมือในสัญญา: พยานรับรองและผลทางกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรค 3 ประสงค์เพียงว่า กิจการใดที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ หากจะพิมพ์ลายนิ้วมือแทน จะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย 2 คน จึงจะมีผลเท่ากับบุคคลนั้นลงลายมือชื่อโดยพยานผู้รับรองไม่จำเป็นต้องรู้ข้อความในเอกสารนั้น ส่วนข้อความในเอกสารจะมีประการใด เป็นข้อเท็จจริงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในคดีนี้คู่ความอาจนำสืบได้ตามประเด็น คือเอกสารนี้ปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อ vs. ลายนิ้วมือในสัญญา: พยานรับรองไม่จำเป็นต้องรู้ข้อความ
ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรค3 ประสงค์เพียงว่า กิจการใดที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ หากจะพิมพ์ลายนิ้วมือแทน จะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย 2 คน จึงจะมีผลเท่ากับบุคคลนั้นลงลายมือชื่อโดยพยานผู้รับรองไม่จำเป็นต้องรู้ข้อความในเอกสารนั้น ส่วนข้อความในเอกสารจะมีประการใดเป็นข้อเท็จจริงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในคดีนี้คู่ความอาจนำสืบได้ตามประเด็น คือ เอกสารนี้ปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายเซ็น-ลายนิ้วมือในสัญญา: ผลไม่อาจปรับให้แพ้หากพิสูจน์ได้เพียงบางส่วน
เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ผู้ชำนาญการพิเศษพิสูจน์ลายเซ็นชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยในหนังสือสัญญากู้เงิน ถ้าใช่ของจำเลย ๆ ยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ทั้งลายเซ็นและลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยแล้วโจทก์ยอมแพ้.เมื่อผลการพิสูจน์ปรากฏว่าลายเซ็นนั้นไม่ใช่แต่ลายพิมพ์นิ้วมือไม่สามารถพิสูจน์ได้เช่นนี้.ยังหาปรับให้โจทก์แพ้ตามคำท้าได้ไม่.จำต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปเสมือนไม่มีคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิสูจน์ลายเซ็น-ลายนิ้วมือ: การพิสูจน์ไม่ครบถ้วนไม่ถือว่าฝ่ายใดแพ้ตามคำท้า
เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ผู้ชำนาญการพิเศษพิสูจน์ลายเซ็นชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือจำเลยในหนังสือสัญญากู้เงิน ถ้าใช่ของจำเลยจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่ใช่ทั้งลายเซ็นและลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยแล้วโจทก์ยอมแพ้เมื่อผลการพิสูจน์ปรากฏว่าลายเซ็นนั้นไม่ใช่แต่ลายพิมพ์นิ้วมือไม่สามารถพิสูจน์ได้เช่นนี้ยังหาปรับให้โจทก์แพ้ตามคำท้าได้ไม่จำต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปเสมือนไม่มีคำท้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองสัญญากู้ด้วยลายมือชื่อและลายนิ้วมือ โดยผู้รู้เห็นถือเป็นพยานได้
กู้เงินกันเกินกว่า 50 บาท ผู้กู้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในหนังสือสัญญากู้ ต่อหน้าผู้ให้กู้และคนอีก 2 คนแต่คนหนึ่งลงชื่อโดยบันทึกว่า เป็นพยานอีกคนหนึ่งบันทึกว่า เป็นผู้เขียนดังนี้ เมื่อคนทั้ง สองเป็นผู้รู้เห็นในการกู้เงินและการพิมพ์ลายนิ้วมือลงในสัญญากู้เงินกันจริงก็ถือว่า คนทั้งสองเป็นพยานได้ทั้งสองคนจึงทำให้สัญญากู้ที่กล่าวสมบูรณ์ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารโดยใช้ลายนิ้วมือผู้ไร้ความสามารถ
จำเลยกดพิมพ์ลายนิ้วมือ+ผู้วิกลจริตลงไหลฟันเฟือนพูดจาไม่รู้เรื่องลงใน+แต่งทนายและแถลงกรณ์แล้วนำมายื่ต่อศาลอ้างว่าเป็นใบแต่ทนายและคำแถลงการณ์ของผู้วิกลจริตดังนี้ ต้องมีความผิดฐานปลอมหนังสือ
of 2