พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 หมดสิทธิฎีกา หลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีฆ่าผู้อื่น
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตาม ป.อ. มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินรางวัลที่ปรึกษากฎหมายในคดีที่ศาลใช้มาตรการแทนการพิพากษาและจำหน่ายคดีชั่วคราว ต้องรอจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 123 ที่ปรึกษากฎหมายซึ่งศาลแต่งตั้งให้ได้รับค่าป่วยการตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลแต่งตั้งให้แก่เด็กหรือเยาวชน พ.ศ. 2555 และระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลแต่งตั้งให้แก่เด็กหรือเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ข้อ 5 กำหนดว่าให้ศาลกำหนดเงินรางวัลให้แก่ที่ปรึกษากฎหมายตามอัตราค่าป่วยการท้ายระเบียบ ดังนี้ (1) ในกรณีที่มีการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้กำหนดตามบัญชี 1 และตามวรรคสอง กำหนดว่า "…ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ คดีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว คดีที่ศาลสั่งยุติคดีโดยไม่ต้องมีคำพิพากษา หรือคดีเสร็จไปโดยศาลไม่ได้มีคำพิพากษา..." และวรรคสาม กำหนดว่า "ทั้งนี้ ให้กำหนดเมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว" ซึ่งคดีนี้เป็นคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพทั้งยังเป็นคดีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวที่ให้ศาลกำหนดเงินรางวัลให้ได้ตามระเบียบ ข้อ 5 (1) วรรคสอง แต่ต้องอยู่ในบังคับแห่งวรรคสามที่ศาลจะกำหนดให้ได้ต่อเมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นให้ใช้มาตรการแทนการพิพากษาคดีแก่จำเลยแล้วจำหน่ายคดีออกจากสารบบความไว้ชั่วคราว โดยมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง กรณีจึงยังไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้จ่ายเงินรางวัลค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนห้องชุดสินสมรส และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามคำขอท้ายฟ้อง
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนห้องชุดกึ่งหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แล้ว ห้องชุดดังกล่าวกลับเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกิดจากการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นความบกพร่องของโจทก์ที่มิได้บรรยายฟ้องถึงฐานะแห่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย และเมื่อพิจารณาจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยทั้งสองส่งมอบห้องชุดตามฟ้องคืนแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น ฟังว่าโจทก์มีคำขอบังคับตามลำดับโดยชัดแจ้งแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย ประกอบกับตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 19 มิได้ห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเสียทีเดียว ฉะนั้น คนต่างด้าวจึงอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจึงไม่ชอบ เพราะนอกจากโจทก์จะชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังไม่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกิดจากการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นความบกพร่องของโจทก์ที่มิได้บรรยายฟ้องถึงฐานะแห่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย และเมื่อพิจารณาจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ที่ขอให้จำเลยทั้งสองส่งมอบห้องชุดตามฟ้องคืนแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น ฟังว่าโจทก์มีคำขอบังคับตามลำดับโดยชัดแจ้งแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้ห้องชุดพิพาททั้งสองห้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย ประกอบกับตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 19 มิได้ห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเสียทีเดียว ฉะนั้น คนต่างด้าวจึงอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจึงไม่ชอบ เพราะนอกจากโจทก์จะชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังไม่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ใช้บังคับแก่เงินของเอกชนและเงินของรัฐที่ฝากธนาคาร แม้เงินงบประมาณเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน แต่เมื่อส่วนราชการตั้งฎีกาขอเบิกเงินงบประมาณแล้ว กระทรวงการคลังโอนเงินงบประมาณเข้าบัญชีเงินฝากของส่วนราชการนั้นที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ก. เมื่อธนาคาร ก. ได้รับเงินงบประมาณดังกล่าวเข้าสู่บัญชีเงินฝากของส่วนราชการแล้ว เงินฝากนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก. ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการเจ้าของบัญชีเงินฝากอีกต่อไป ธนาคาร ก. คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินฝากให้แก่เจ้าของบัญชีเงินฝากหรือกระทรวงการคลังครบจำนวนเท่านั้น
เมื่อได้ความว่า จําเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคาร ก. ดังนั้นธนาคาร ก. ย่อมไม่มีสิทธินําเงินที่ธนาคารจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ไปลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ได้ตามบทบัญญัติมาตรา 1008 แต่เมื่อธนาคาร ก. ลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์แล้วจึงมีหน้าที่ต้องเพิกถอนรายการเบิกถอนเงินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ธนาคาร ก. โอนเงิน 9,752,000 บาท เท่ากับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ อันเป็นการชดใช้ตามสัญญาฝากทรัพย์ ซึ่งน่าจะเป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการเห็นว่า โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ที่เสียหายมีส่วนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย โดยโจทก์และธนาคาร ก. เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 จึงมีมติให้ธนาคาร ก. คืนเงินแก่โจทก์เพียงกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าธนาคาร ก. เพิกถอนรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ฉบับละกึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลให้จำนวนเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คฉบับที่ 3 ถึงที่ 25 ฉบับที่ 27 ถึงที่ 39 และฉบับที่ 41 ถึงที่ 43 ที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คโดยฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 2 และที่ 3 โดยผิดวัตถุประสงค์ที่โจทก์ย่อมไม่ให้เบิกถอนเงิน หากไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ เงินอีกกึ่งหนึ่งนั้นยังคงเป็นสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามและเอาเงินดังกล่าวคืนจากจําเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จําเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ฝากเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 รวมเป็นเงิน 1,705,405 บาท พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจําเลยที่ 2 ให้ชําระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จําเลยที่ 2 ไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ จําเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จําเลยที่ 2 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าชําระเสร็จแก่โจทก์ และจําเลยที่ 3 ต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ฝากเข้าบัญชีของจำเลยที่ 3 รวมเป็นเงิน 7,433,551 บาท พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจําเลยที่ 3 ให้ชําระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จําเลยที่ 3 ไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ จําเลยที่ 3 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จําเลยที่ 3 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าชําระเสร็จแก่โจทก์
เมื่อได้ความว่า จําเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคาร ก. ดังนั้นธนาคาร ก. ย่อมไม่มีสิทธินําเงินที่ธนาคารจ่ายตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ไปลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ได้ตามบทบัญญัติมาตรา 1008 แต่เมื่อธนาคาร ก. ลงรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์แล้วจึงมีหน้าที่ต้องเพิกถอนรายการเบิกถอนเงินดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ธนาคาร ก. โอนเงิน 9,752,000 บาท เท่ากับกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ อันเป็นการชดใช้ตามสัญญาฝากทรัพย์ ซึ่งน่าจะเป็นกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการเห็นว่า โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ที่เสียหายมีส่วนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย โดยโจทก์และธนาคาร ก. เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 จึงมีมติให้ธนาคาร ก. คืนเงินแก่โจทก์เพียงกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าธนาคาร ก. เพิกถอนรายการเบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ตามเช็คฉบับที่ 1 ถึงที่ 43 ฉบับละกึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลให้จำนวนเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คฉบับที่ 3 ถึงที่ 25 ฉบับที่ 27 ถึงที่ 39 และฉบับที่ 41 ถึงที่ 43 ที่ธนาคาร ก. จ่ายเงินตามเช็คโดยฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 2 และที่ 3 โดยผิดวัตถุประสงค์ที่โจทก์ย่อมไม่ให้เบิกถอนเงิน หากไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ เงินอีกกึ่งหนึ่งนั้นยังคงเป็นสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามและเอาเงินดังกล่าวคืนจากจําเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จําเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ฝากเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 รวมเป็นเงิน 1,705,405 บาท พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจําเลยที่ 2 ให้ชําระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จําเลยที่ 2 ไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ จําเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จําเลยที่ 2 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าชําระเสร็จแก่โจทก์ และจําเลยที่ 3 ต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินตามเช็คฉบับที่ฝากเข้าบัญชีของจำเลยที่ 3 รวมเป็นเงิน 7,433,551 บาท พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจําเลยที่ 3 ให้ชําระหนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 แต่จําเลยที่ 3 ไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ จําเลยที่ 3 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 จําเลยที่ 3 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันดังกล่าวของต้นเงินเต็มจำนวนตามเช็คแต่ละฉบับ นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2560 และของต้นเงินกึ่งหนึ่งตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 จนกว่าชําระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2774/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาเพิกถอนการขายทอดตลาดที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา
กรณีที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นหลักประกันเดียวกับหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เดียวกันและโจทก์ยื่นฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์และศาลแขวงขอนแก่น เมื่อปรากฏว่าศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นศาลที่มีคำพิพากษาและออกหมายบังคับคดี แม้ทรัพย์จำนองจะตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นและเจ้าพนักงานบังคับคดีจังหวัดกาฬสินธุ์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดขอนแก่นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และทำการขายทอดตลาดแทน และต่อมาศาลแขวงมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้หากไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ และศาลจังหวัดกาฬสินธุ์มีอำนาจพิจารณา ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ที่บัญญัติว่า "คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่กำหนดไว้ในมาตรา 271" และมาตรา 271 บัญญัติให้ ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีซึ่งมีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 276 และมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น คือศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เพราะขณะมีการยึดทรัพย์คดีนี้ศาลแขวงขอนแก่นยังมิได้มีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2674/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: ศาลต้องแจ้งคู่ความเพื่อคัดค้านก่อนออกคำสั่ง
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 271 กำหนดว่า ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี มีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับคดีและมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น ดังนั้น กระบวนการบังคับคดีให้เป็นไปคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทุกชั้นศาล จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นในชั้นต้น และมาตรา 357 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การบังคับคดีในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษากระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไม่ได้กำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะบริบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้บุคคลดังกล่าวนั้นจดทะเบียนไปตามคำสั่งศาล" ดังนั้นโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลมีคำสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นการบังคับคดีในกรณีที่คำพิพากษาของศาลกำหนดให้จำเลยทั้งสองกระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 357 อันเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย และศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม คำร้องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 357 นั้น เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดย ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่? การโอนเงินโดยไม่มีนิติสัมพันธ์ และผลผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
ประเด็นตามคำฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในแบบคำขอสินเชื่อ หนังสือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และเอกสารประกอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้อง ส่วนฟ้องโจทก์คดีนี้ โจทก์ยอมรับผลของคำพิพากษาคดีก่อนว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์และกล่าวอ้างว่าการที่โจทก์โอนเงิน 600,000 บาท เข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยผลของคำพิพากษาคดีก่อนมาเป็นมูลฟ้องร้องในคดีนี้ แม้เงินที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในคดีนี้จะเป็นเงินจำนวนเดียวกับในคดีก่อนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการฟ้องโดยอาศัยสภาพแห่งข้อหาที่ต่างกัน ไม่ถือเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
ส่วนปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดคืนเงินตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อน เมื่อพยานหลักฐานในคดีก่อนฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามฟ้องจากโจทก์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินตามฟ้องแก่โจทก์
ส่วนปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดคืนเงินตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อน เมื่อพยานหลักฐานในคดีก่อนฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามฟ้องจากโจทก์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอื่น และอำนาจสั่งนับโทษของศาล
เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 1144/2561 ของศาลอาญา ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาและการชดใช้ค่าเสียหายจากสภาพรถยนต์ชำรุด
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีสถานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำบังคับ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีต่อไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และมาตรา 274 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และหากการละเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ยังชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสี่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสี่มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จนโจทก์ติดตามรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ในสภาพชำรุดบกพร่อง ทำให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคารถยนต์ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาคดีก่อน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ที่ขาดไป จำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้คดีก่อนที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ มิใช่ค่าเสียหายที่มีหลักแหล่งแห่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อหรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและหนังสือให้ความยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อและร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเลิกกันไปแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนได้วินิจฉัยจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาความสมบูรณ์หรือความเป็นโมฆะเสียเปล่าของสัญญาดังกล่าวอีก เพราะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย และเห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมิใช่บทบังคับว่า ศาลต้องหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียทุกกรณี ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาข้อสำคัญที่ว่า การหยิบยกปัญหาเรื่องความโมฆะของสัญญาฉบับเดียวกันกับในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัย จนเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาเดียวกันแตกต่างกัน อันก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการบังคับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามในลำดับแรกด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีเป็นอันไร้ผลไปโดยสิ้นเชิง เป็นผลให้ตกเป็นภาระแก่จำเลยที่ 1 เพียงลำพัง ทั้งที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาที่ละเลยต่อการชำระหนี้ไม่แตกต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อน
เมื่อรถยนต์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ มีมูลค่า 400,000 บาท ตามราคาใช้แทนรถยนต์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดไว้ในคดีก่อน โจทก์ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดรถยนต์แล้ว 308,411.21 บาท โจทก์จึงยังคงเสียหายเป็นเงินเพียง 91,588.79 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เกินกว่าความเสียหายของโจทก์จึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสี่มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จนโจทก์ติดตามรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ในสภาพชำรุดบกพร่อง ทำให้ขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคารถยนต์ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาคดีก่อน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ที่ขาดไป จำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้คดีก่อนที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ มิใช่ค่าเสียหายที่มีหลักแหล่งแห่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อหรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญายินยอมร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและหนังสือให้ความยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อและร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเลิกกันไปแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนได้วินิจฉัยจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาความสมบูรณ์หรือความเป็นโมฆะเสียเปล่าของสัญญาดังกล่าวอีก เพราะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย และเห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ โดยเห็นว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมิใช่บทบังคับว่า ศาลต้องหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียทุกกรณี ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาข้อสำคัญที่ว่า การหยิบยกปัญหาเรื่องความโมฆะของสัญญาฉบับเดียวกันกับในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัย จนเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาเดียวกันแตกต่างกัน อันก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการบังคับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสี่ต้องปฏิบัติตามในลำดับแรกด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีเป็นอันไร้ผลไปโดยสิ้นเชิง เป็นผลให้ตกเป็นภาระแก่จำเลยที่ 1 เพียงลำพัง ทั้งที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาที่ละเลยต่อการชำระหนี้ไม่แตกต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกปัญหาว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคาให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีก่อน
เมื่อรถยนต์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ มีมูลค่า 400,000 บาท ตามราคาใช้แทนรถยนต์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดไว้ในคดีก่อน โจทก์ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดรถยนต์แล้ว 308,411.21 บาท โจทก์จึงยังคงเสียหายเป็นเงินเพียง 91,588.79 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดราคาแก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เกินกว่าความเสียหายของโจทก์จึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: การถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า "ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา" อันมีความหมายว่าคำพิพากษาในส่วนอาญานั้นต้องถึงที่สุดแล้วและเป็นคู่ความเดียวกัน ทั้งข้อเท็จจริงที่คดีส่วนแพ่งจะต้องถือตามนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วย เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดและโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน จึงต้องพิจารณาเพียงว่าคำวินิจฉัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นประเด็นโดยตรงกับคดีนี้หรือไม่ ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวทั้งสามศาลต่างพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาของทั้งสามศาลต่างวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงแห่งคดีเช่นเดียวกับคดีนี้ แม้จะมีรายละเอียดของการให้เหตุผลแตกต่างไปบ้างก็สืบเนื่องมาจากการวินิจฉัยตามข้ออุทธรณ์และข้อฎีกาของโจทก์ แต่ผลสุดท้ายแห่งคดีคือยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม อันเกิดจากการฟังข้อนำสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ในการพิพากษาคดีนี้ย่อมต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการปลอมเช็คและใช้เช็คปลอม