คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดี หากไม่โต้แย้งทันที จะไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยไม่ขัดข้อง ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งอย่างไร โจทก์ก็ขอดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ศาลสั่งอนุญาต ประการหนึ่งและเมื่อโจทก์อีกคนหนึ่งทราบนัดแล้วไม่มาศาล แต่ศาลสั่งให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป อีกประการหนึ่ง ต่างก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคู่ความไม่เห็นด้วย และประสงค์จะอุทธรณ์ฎีกา จะต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง ม. 226 มิฉะนั้น จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องโต้แย้งทันที มิฉะนั้นจะไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยไม่ขัดข้องศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งอย่างไร โจทก์ก็ขอดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปศาลสั่งอนุญาตประการหนึ่งและเมื่อโจทก์อีกคนหนึ่งทราบนัดแล้วไม่มาศาลแต่ศาลสั่งให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป.อีกประการหนึ่งต่างก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อคู่ความไม่เห็นด้วย และประสงค์จะอุทธรณ์ฎีกา จะต้องโต้แย้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ขายทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายสมบูรณ์ แม้เจ้าของโต้แย้งภายหลัง
เจ้าของยินยอมให้บุคคลอื่นขายและยกทรัพย์สินให้แก่บุคคลที่สาม สัญญาซื้อขายและให้นั้นย่อมสมบูรณ์ เจ้าของจะมาโต้เถียงว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนบุคคลอื่นไม่มีสิทธิจะขายหรือให้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพยานในคดีมรดก: ผู้โต้แย้งความเป็นมรดกมีหน้าที่นำสืบ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกจำเลยให้การต่อสู้ว่า เจ้ามรดกยกให้จำเลยตั้งแต่ก่อนตาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่า ทรัพย์ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ที่พิพาทและโต้เถียงสิทธิอยู่เช่นนี้ ก็เป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่า ทรัพย์ที่พิพาทเป็นมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดกและการครอบครอง ย่อมต้องรับคดีเพื่อวินิจฉัยสิทธิ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าบิดายกที่นี้ให้แก่โจทก์จำเลยคนละเท่าๆ กัน จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่รายนี้มิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้อง
จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของบิดาโจทก์จำเลยบิดาไม่สละสิทธิหรือยกให้เป็นกรรมสิทธิของผู้ใด คงครอบครองเป็นเจ้าของตลอดมาจนบัดนี้แล้วบิดาจัดการรังวัดจัดแบ่งที่นี้ให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆ กัน โจทก์ไม่พอใจจึงมาฟ้อง ดังนี้ ถือว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วศาลจำต้องรับคดีไว้วินิจฉัยถึงสิทธิตามฟ้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: แม้จำเลยไม่โต้แย้งทันที ศาลสูงยังยกขึ้นวินิจฉัยเรื่องอำนาจศาลได้
ฟ้องขอให้โอนที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นคดีมีทุนทรัพย์ (อ้างคำสั่งคำร้องที่ 12/2493 และฎีกาที่1065/2493)
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยต่อสู้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง แต่เมื่อศาลแขวงสั่งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง แล้วพิจารณาคดีต่อไปนั้น แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในทันที และมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จนศาลพิพากษาแล้ว จึงมาอุทธรณ์เรื่องอำนาจศาลอีก ดังนี้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องอำนาจศาลเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และเมื่อเห็นว่าคดีเกินอำนาจศาลแขวง ศาลสูงก็ย่อมมีอำนาจให้ยกคำพิพากษาศาลแขวงแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การโต้แย้งคำพิพากษาเดิมในประเด็นส่วนแบ่งมรดก ถือเป็นการขอให้ลบล้างแก้ไขคำพิพากษาเดิม จึงต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่โจทก์จำเลยและพี่น้องอีก 2 คน ๆ ละ 1 ส่วนเท่าเท่ากันโดยฟังว่า ที่แปลงนั้นเป็นมรดกของบิดาโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์เห็นว่าจำเลยได้รับมรดกมากเกินไปเป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินไปจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยใช้เงินจำนวนนั้นแก่โจทก์โดยอ้างว่าที่ดินมรดกแปลงที่กล่าวแล้วเป็นสินสมรสของบิดาและมารดา จำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกเกินไป ดังนี้ เป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเองว่าพิพากษาไม่ถูกการฟ้องใหม่จึงเท่ากับขอให้ลบล้างแก้ไขคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม จึงเป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินเด็ดขาดแล้ว ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่โจทก์จำเลยและพี่น้องอีก 2 คน คนละ 1 ส่วนเท่าเท่ากัน โดยฟังว่า ที่แปลงนั้นเป็นมรดกของบิดาโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์เห็นว่าจำเลยได้รับมรดกมากเกินไป เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินไปจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยใช้เงินจำนวนนั้นแก่โจทก์โดยอ้างว่าที่ดินมรดกแปลงที่กล่าวแล้วเป็นสินสมรสของบิดาและมารดา จำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกเกินไป ดังนี้ เป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเองว่าพิพากษาไม่ถูก การฟ้องใหม่จึงเท่ากับขอให้ลบล้างแก้ไขคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม จึงเป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ - การโต้แย้งคำสั่ง - อุทธรณ์ฎีกา - ป.วิ.แพ่ง ม.226
เมื่อศาลสั่งให้คู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อนแล้ว ถ้าคู่คามฝ่ายนั้น ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะอุทธรณ์ฎีกาในเรื่องคำสั่งหน้าที่สืบแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องโต้แย้งไว้ก่อนตาม ป.วิ.แพ่ง ม. 226 มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์: ภาระการพิสูจน์ระยะเวลาครอบครองเมื่อถูกโต้แย้ง
โจทก์ฟ้องว่าได้ซื้อที่ดินมีโฉนดจากจำเลยไม่ได้โอนทะเบียนครอบครองมากว่า 10 ปี จำเลยได้เถียงว่า โจทก์ครอบครองไม่ถึง 10 ปี ดังนี้ตกหน้าที่โจทก์นำสืบ หากโจทก์สืบไม่ได้ว่าได้ครอบครองที่พิพาทมาถึง 10 ปี โจทก์ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง และศาลพิพากษายกฟ้อง
of 26