คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเข้ากองประจำการสำหรับครูทหารกองเกินที่ยังไม่ได้รับการยกเว้นโดยใบสำคัญ
จำเลยรับราชการเป็นครู และเป็นทหารกองเกิน ได้ยื่นเรื่องราวขอยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยังมิได้ออกใบสำคัญให้จำเลยไว้ ดังนี้ จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะบุคคลที่ได้รับการยกเว้นเรียกเข้ากองประจำการ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรับราชการทหาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 มาตรา 3
จำเลยได้รับหมายเรียกของนายอำเภอ ซึ่งกำหนดให้จำเลยไปรับการตรวจเลือกเข้ารับราชการกองประจำการ ถึงวันนัดจำเลยไม่ไปรับการตรวจเลือก แม้จำเลยจะคิดว่าจำเลยได้รับการผ่อนผันเพราะยื่นเรื่องราวไปแล้ว จึงไม่ไปรับการตรวจเลือกก็ตาม ก็มิใช่อยู่ในข่ายข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 27 ต้องถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามหมายเรียก ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในละเมิด: ครูระมัดระวังแล้วไม่ต้องรับผิด, มารดาปล่อยปละละเลยต้องรับผิด
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไป ตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอด พฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ระมัดระวังตามสมควรแล้ว เหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ ครูจึงไม่ต้องรับผิด
มารดาปล่อยให้บุตรเล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและนำไปเล่นที่โรงเรียน จนบุตรมีความชำนาญทำไม้กระบอกพลุให้คนอื่นเล่นได้ แสดงว่ามารดาปล่อยปละละเลยไม่ได้ดูแลหรือห้ามปราม แม้เหตุจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนลับหลังมารดาก็ตาม ก็หาทำให้มารดาพ้นความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของครูและมารดาต่อเหตุละเมิดจากการเล่นพลุของเด็กนักเรียน
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไปตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอดพฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วเหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ครูจึงไม่ต้องรับผิด
มารดาปล่อยให้บุตรเล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและนำไปเล่นที่โรงเรียนจนบุตรมีความชำนาญทำไม้กระบอกพลุให้คนอื่นเล่นได้แสดงว่ามารดาปล่อยปละละเลยไม่ได้ดูแลหรือห้ามปราม แม้เหตุจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนลับหลังมารดาก็ตาม ก็หาทำให้มารดาพ้นความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของคำว่า 'รับเลี้ยง' ในความผิดฐานข่มขืนชำเรา ครูต้องมีหน้าที่เลี้ยงดูผู้ถูกกระทำ
คำว่า "รับเลี้ยง" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 นั้น หมายความถึงผู้ที่เป็นครูและมีหน้าที่เลี้ยงผู้ถูกทำร้ายด้วย
ในคดีข่มขืนชำเรา เมื่อได้ความว่าจำเลยเป็นครูสอนผู้เสียหายแต่ไม่ได้เป็นผู้รับเลี้ยงผู้เสียหายด้วย ดังนี้การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 247 อีกบทหนึ่ง.
(ฎีกาที่ 260/2477)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนชำเรา ครูต้องเป็นผู้เลี้ยงดูผู้เสียหาย จึงจะผิดตามมาตรา 247
คำว่า "รับเลี้ยง" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247นั้น หมายความถึงผู้ที่เป็นครูและมีหน้าที่เลี้ยงผู้ถูกทำร้ายด้วย
ในคดีข่มขืนชำเรา เมื่อได้ความว่าจำเลยเป็นครูสอนผู้เสียหายแต่ไม่ได้เป็นผู้รับเลี้ยงผู้เสียหายด้วย ดังนี้การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 247 อีกบทหนึ่ง(ฎีกาที่ 260/2477)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูยักยอกเงินนักเรียนและร้านค้าเข้าประโยชน์ส่วนตัว มีความผิดฐานยักยอก แม้จดแจ้งรายการเท็จด้วย
จำเลยรับเงินที่เก็บได้ไว้มากแต่ลงบัญชีว่าได้รับไว้น้อยกว่านั้นแล้วเบียดบังเอาเงินจำนวที่แตกต่างกันนั้นไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ต้องมีความผิดฐานยักยอก กระทำผิดคราวเดียวแต่เป็นการละเมิดกฎหมายหลายบทต้องลงอาญาตามบทที่หนักแต่บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษนักเรียน ครูแก้ผ้าเฆี่ยนไม่ถือเป็นอนาจาร ศาลใช้ดุลยพินิจในการลดโทษและรอการลงอาญา
ครูแก้ผ้าศิษย์แล้วเฆี่ยนมีผิดตาม ม.254 กะทงเดียว หามีผิดฐานทำอนาจารด้วยไม่ วิธีพิจารณาอาญา พรบฎีกาอุทธรณ์ ม.3,8 การลดโทษปราณี การรอการลงอาญา การกำหนดโทษ อยู่ในดุลยพินิจของศาล เปนข้อเท็จจริง เมื่อศาลใช้ดุลยพินิจ ไม่ผิดบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว คู่ความฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้โทษทางกายภาพกับนักเรียน: อำนาจครูและความสมเหตุสมผล
ครูเฆี่ยนนักเรียนมีบาดเจ็บเล็กน้อยเพียงโลหิตขับโดยสมควรไม่มีผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูใช้อำนาจทางตำแหน่งกระทำอนาจารและข่มขืนนักเรียนในความดูแล ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277, 279
คืนเกิดเหตุมีการจัดงานในโรงเรียน การที่จำเลยซึ่งเป็นครูประจำชั้นจูงมือผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปต่อหน้าบิดาผู้เสียหายและคนอื่นเป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ แม้จะกระทำต่อหน้าศิษย์นอกเวลาเรียนก็ถือว่าศิษย์นั้นอยู่ในความดูแล แล้วจำเลยกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสองและ มาตรา 279 วรรคสองประกอบมาตรา 285 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 277 วรรคสองประกอบมาตรา 285 อันเป็นบทที่โทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9890/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ครูทำอนาจารนักเรียนในความดูแล ศาลตัดสินผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ประกอบ 285
จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285
of 4