พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ตกภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นของตัวแทน
พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ์มาตรา 1129 ้เมื่อการซื้อขายหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความใน มาตรา 15 (8) แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยลูกค้าแล้ว และได้รับใบหุ้นและตราสารโอนหุ้นมาแล้ว โจทก์จะต้องเก็บรักษาไว้แทนจำเลย เพื่อส่งมอบให้จำเลยเมื่อจำเลยชำระเงิน ที่โจทก์ออกทด]อง ซื้อหุ้นดังกล่าวจนครบหากจำเลยไม่ชำระแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวโดยมิได้ส่งมอบและโอนหุ้นนั้นให้จำเลยเสียก่อนก็ดีหรือมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยก็ดี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปได้เพราะแม้ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระต่อกัน แต่ก็มิใช่หนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนแต่โจทก์ ซึ่งเป็นตัวแทนมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นนั้นไว้ จนกว่าโจทก์จะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระเพราะเป็นตัวแทนจากจำเลยผู้เป็นตัวการ เมื่อจำเลยชำระเงินบรรดาที่ค้างชำระดังกล่าวแล้ว โจทก์ ก็จะต้องส่งมอบใบหุ้นพร้อมกับตราสารโอนหุ้นให้แก่จำเลย
โจทก์เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ซื้อหุ้นตามคำสั่งของจำเลยลูกค้าแล้ว และได้รับใบหุ้นและตราสารโอนหุ้นมาแล้ว โจทก์จะต้องเก็บรักษาไว้แทนจำเลย เพื่อส่งมอบให้จำเลยเมื่อจำเลยชำระเงิน ที่โจทก์ออกทด]อง ซื้อหุ้นดังกล่าวจนครบหากจำเลยไม่ชำระแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวโดยมิได้ส่งมอบและโอนหุ้นนั้นให้จำเลยเสียก่อนก็ดีหรือมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยก็ดี โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง ขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปได้เพราะแม้ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระต่อกัน แต่ก็มิใช่หนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนแต่โจทก์ ซึ่งเป็นตัวแทนมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นนั้นไว้ จนกว่าโจทก์จะได้รับเงินบรรดาที่ค้างชำระเพราะเป็นตัวแทนจากจำเลยผู้เป็นตัวการ เมื่อจำเลยชำระเงินบรรดาที่ค้างชำระดังกล่าวแล้ว โจทก์ ก็จะต้องส่งมอบใบหุ้นพร้อมกับตราสารโอนหุ้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและสถานะเจ้าหนี้มีประกันจากการเป็นตัวแทนซื้อหุ้น
เจ้าหนี้ได้ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 6เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบหุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงกับบังคับคดี: การตามทรัพย์สินคืนไม่ใช่การบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 289ในกรณี ที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้ตามบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆแม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นหรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อน เจ้าหนี้อื่นได้ แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเอารถยนต์ของโจทก์ที่จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปคืนมาจากผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมและค่าดูแลรักษารถในคดีนี้โดยอ้างว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงหาได้ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและการบังคับคดี: ผู้มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการบังคับคดีเพื่อนำทรัพย์สินคืน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287,289 ในกรณี ที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาบุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้ตามบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ แม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้บังคับเหนือ ทรัพย์สินนั้นหรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อน เจ้าหนี้อื่นได้แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไป ยึดเอารถยนต์ของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปคืนมาจาก ผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมและ ค่าดูแลรักษารถในคดีนี้โดยอ้างว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงหาได้ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน, อายุความหนี้, สิทธิยึดหน่วง, การสะดุดหยุดของอายุความ
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน, อายุความ, สิทธิยึดหน่วง: คดีขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่รู้สิทธิ หรือเกิน 10 ปีนับแต่ทำสัญญา
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้ โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้ โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน อายุความสิทธิเรียกร้อง และสิทธิยึดหน่วง
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันเอง โดยมิได้จดทะเบียน. แม้ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินที่ขายฝากอยู่. ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วง.
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย. อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น.
สิทธิเรียกร้องเงินตามสัญญาขายฝากที่เป็นโมฆะคืนจากผู้ขาย. อยู่ในบังคับแห่งอายุความเรื่องลาภมิควรได้.โดยต้องฟ้องคดีภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้ซื้อรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสิทธิยึดหน่วงตามกฎหมาย และอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาล
เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้เงินโดยลูกหนี้มอบโฉนดให้ยึดไว้เป็นประกันนั้น ไม่มีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 6 เมื่อลูกหนี้ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิน 2 เดือนไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำขอเจ้าหนี้จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเจ้าของคดีล้มละลาย เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งอย่างใดแล้ว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำขอเจ้าหนี้จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเจ้าของคดีล้มละลาย เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งอย่างใดแล้ว คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินหลังคู่สัญญาตาย: ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับโอนแม้เกินอายุความมรดก
สามีภริยาผู้เป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน ทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นแก่เขา โดยส่งมอบที่ดินและโฉนดให้ผู้ซื้อครอบครองแล้ว และผู้ขายก็ได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้วต่อมาสามีตายลงเสียก่อนโอนโฉนดให้ผู้ซื้อ ดังนี้แม้ผู้ซื้อจะฟ้องคดีขอบังคับให้โอนตามสัญญาภายหลังสามีตายเกิน 1 ปี ซึ่งขาดอายุความมรดกแล้วก็ตามก็ถือได้ว่าผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินที่จะซื้อขายกันมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไว้จนกว่าจะโอนกรรมสิทธิได้เหตุที่ผู้ขายคนหนึ่งตายเกิน 1 ปีแล้ว ย่อมไม่ห้ามผู้ซื้อผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189,241(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/97)