พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ผู้ทำสัญญาไม่ได้อ่านรายละเอียดทั้งหมด การครอบครองปรปักษ์เป็นอันสละไป
บันทึกของเจ้าพนักงานที่ดินที่ได้สอบสวนไกล่เกลี่ยเรื่องการคัดค้านแนวเขตที่ดิน ระหว่างผู้ขอซึ่งหมายถึงจำเลย และผู้คัดค้านซึ่งหมายถึงโจทก์ที่ 1 ทั้งสองฝ่ายทราบถึงแนวเขตของที่ดิน โดยยึดถือหลักฐานแผนที่เดิมและหลักฐานแผนที่แสดงแนวเขตคัดค้าน ตกลงกันได้โดยรูปแผนที่แนวเขตที่คัดค้านกันนั้นให้เป็นของผู้ขอหรือจำเลยประมาณ 1-1-52 ไร่ เป็นของผู้คัดค้านหรือโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 0-2-00 ไร่ และผู้คัดค้านหรือโจทก์ที่ 1 ขอยกเลิกการคัดค้าน เป็นกรณีที่จำเลยและโจทก์ที่ 1 ตกลงกันว่าที่ดินในแนวเขตที่คัดค้านกันนั้น ตามหลักฐานแผนที่เดิมเป็นที่ดินของจำเลย ตกลงให้เป็นของจำเลยเนื้อที่ประมาณ 1-1-52 ไร่ เป็นของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 0-2-00 ไร่ และโจทก์ที่ 1 ยกเลิกการคัดค้าน อันเป็นการที่จำเลยและโจทก์ที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทในแนวเขตที่ดินที่คัดค้านให้เสร็จสิ้นไปโดยยอมผ่อนผันให้แก่กันแล้ว แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแผนที่ บริเวณหรือหลักหมุดใดก็ตาม ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเนื้อที่ดังกล่าวอยู่ภายในแนวเขตที่คัดค้านและต้องแบ่งตามแนวเขตของที่ดินทั้งสองแปลงนั้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารเพื่อฉ้อโกงประกันสังคม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม, เจตนา, และโทษ
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยมีรายละเอียดว่า โจทก์ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยมาโดยตลอด ถือว่าโจทก์ร่วมมีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยด้วย ซึ่งการวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องย้อนไปวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยตามที่จำเลยอุทธรณ์หรือไม่ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยกล่าวอ้าง มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ เพิ่งยกข้อเท็จจริงนั้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ อันไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยเพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ชอบแล้ว
การกระทำความผิดในแต่ละวันเกิดเหตุจะเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่จำเลยมีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากจำนวนของผู้ประกันตนที่ถูกปลอมเอกสารแต่ละคนเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามฟ้องว่า วันเกิดเหตุแต่ละวันจำเลยทำเอกสารและเอกสารสิทธิปลอม แล้วจำเลยนำเอกสารที่ทำปลอมดังกล่าวไปใช้แสดงเพื่อฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกงโจทก์ร่วม ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยทำเอกสารและเอกสารสิทธิปลอมเพื่อจะนำไปใช้ฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกงโจทก์ร่วม อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์และคลินิกมีรายได้จากการบริการทางการแพทย์จากบุคคลดังกล่าว การกระทำของจำเลยแต่ละวันเกิดเหตุจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
การกระทำความผิดในแต่ละวันเกิดเหตุจะเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่จำเลยมีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากจำนวนของผู้ประกันตนที่ถูกปลอมเอกสารแต่ละคนเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามฟ้องว่า วันเกิดเหตุแต่ละวันจำเลยทำเอกสารและเอกสารสิทธิปลอม แล้วจำเลยนำเอกสารที่ทำปลอมดังกล่าวไปใช้แสดงเพื่อฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกงโจทก์ร่วม ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยทำเอกสารและเอกสารสิทธิปลอมเพื่อจะนำไปใช้ฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกงโจทก์ร่วม อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์และคลินิกมีรายได้จากการบริการทางการแพทย์จากบุคคลดังกล่าว การกระทำของจำเลยแต่ละวันเกิดเหตุจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดหนี้โดยการแสดงเจตนาผ่านแอปพลิเคชัน และผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยมีเนื้อความว่า "ตัวเองไม่ต้องคืนเงินพี่แล้วนะ แล้วพี่ก็จะไม่ทวงไม่ทำให้ตัวเองลำบากใจอีก พี่ขอโทษกับเรื่องราวที่ผ่านมา และอยากให้รู้ว่าพี่ยังรักตัวเองอยู่" ข้อความการสนทนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะทวงเงินที่จำเลยยืมไปอีก เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการปลดหนี้จำนวนอื่น ไม่ใช่หนี้จำนวน 105,000 บาท จำเลยยืมไปแล้วยังไม่ชำระคืนให้โจทก์ตามฟ้อง เห็นว่า โจทก์ส่งข้อความทางแอปพลิเคชันไลน์ทวงเงินคืนจากจำเลย และส่งข้อความถึงจำเลยให้เวลาจำเลยคืนเงินภายในเวลา 1 เดือน เมื่อจำเลยมีพยานหลักฐานคือข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ทวงเงินคืนจากจำเลยว่าโจทก์ปลดหนี้ตามฟ้องให้จำเลยแล้ว แม้ข้อความจะไม่ได้ระบุชัดว่ามูลหนี้ใดและโจทก์อ้างว่าหมายถึงหนี้ จำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมจากโจทก์ก็คงมีเพียงมูลหนี้ 105,000 บาท เพียงอย่างเดียว เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับที่โจทก์เบิกความตอบทนายโจทก์ถามเพิ่มว่า โจทก์คบหากับจำเลย ระหว่างที่คบหาก็มีการให้ยืมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างประมาณ 1,000 บาท ถึง 2,000 บาท บ้าง และให้ทั้งที่เป็นเงินสดและโอนเข้าบัญชีการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยเสน่หา ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่าเงินจำนวนเล็กน้อยที่โจทก์อ้างนั้นเป็นการให้โดยเสน่หาเฉกเช่นคนรักที่คบหากัน ไม่ใช่มูลหนี้อื่นตามที่โจทก์อ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์นำพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีมูลหนี้ที่จำเลยยืมจากโจทก์จำนวนอื่นอีก แม้การแสดงเจตนาปลดหนี้จะใช้วิธีการส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งมิใช่การส่งผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ตามที่โจทก์เคยใช้ติดต่อกับจำเลย ก็ได้ความจากคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เองว่า จำเลยตัดช่องทางการติดต่อกับโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อจำเลยทางโทรศัพท์แต่จำเลยไม่รับ จึงติดต่อไปทางแอปพลิเคชันวีแชต จึงเชื่อว่าหนี้ที่โจทก์แสดงเจตนาปลดหนี้เป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมตามฟ้อง การส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชตเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับด้วย เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ส่งข้อความดังกล่าวให้จำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนโจทก์ได้ ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8 พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้รับการปลดหนี้จากการกู้ยืมเงินตามฟ้องโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอ้างว่าไม่ทราบ และการกระทำละเมิดหลังคำพิพากษาเดิมมีผลทางอาญา
เดิมโจทก์ร่วมฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 902/2556 หมายเลขแดงที่ 2060/2557 ของศาลชั้นต้น ขอให้ขับไล่และรื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ร่วม และห้าม ส. กับบริวารเกี่ยวข้อง จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจ ส. ต่อสู้คดี ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส. เป็นทางสาธารณะ พิพากษาให้ ส. รื้อถอนเสาปูนและรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินของโจทก์ร่วมและห้าม ส. กับบริวารเข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ ในที่ดินของโจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด โดยคดีก่อน ส. กับจำเลยในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ส. ให้การและเบิกความรับว่า พ. บิดาจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและที่ดินมือเปล่าหลายพันไร่ โดยใส่ชื่อ พ. ส. จำเลย กับบุตรอื่นของ พ. ในเอกสารสิทธิหลายฉบับบางฉบับใส่ชื่อผู้จัดการมรดกของ พ. เยี่ยงนี้ ส. จึงมีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทน พ. นับแต่วันออกเอกสารสิทธิ เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินย่อมเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ ส. และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นของ พ. การที่ ส. ผู้ถูกโจทก์ร่วมฟ้องในคดีเดิมย่อมอยู่ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกแทนจำเลยและทายาทอื่นของ พ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745, 1356 และ 1359 จึงต้องถือว่าจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับ ส. และถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หาใช่บุคคลภายนอกที่ไม่ถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมไม่ เมื่อคดีเดิมถึงที่สุดและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามคำพิพากษาเสร็จแล้ว จำเลยกระทำละเมิดขึ้นใหม่ กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองในคดีเดิมวินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการละเมิดด้วยการปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามบนทางสาธารณประโยชน์ปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่ใช้เข้าออกจากที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อคดีเดิม ส. ฎีกาโดยโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา และต่อมา ส. แถลงขอยุติคดีโดยไม่ต้องการฎีกาต่อไปและขอถอนจำเลยจากการเป็นผู้รับมอบอำนาจ ศาลชั้นต้นอนุญาต คดีเดิมจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันแถลงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และผูกพันโจทก์ร่วมกับจำเลย การที่จำเลยยังคงดื้อรั้นดันทุรังไม่ยอมรับผลแห่งคำพิพากษาตามกฎหมายโดยยังคงเข้าไปปักเสาปูนและกั้นรั้วลวดหนาม ทั้งศาลชั้นต้นในคดีเดิมมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้รื้อถอนเสาปูนและรั้วรวดหนามบางส่วนตามที่คู่ความตกลงกัน จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่แก่ใจว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีเดิมวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม ทางที่อยู่ระหว่างที่ดินโจทก์ร่วมและ ส.เป็นทางสาธารณะ ทั้งประสงค์ให้เกิดผลเป็นการปิดกั้นเส้นทางรถยนต์ที่โจทก์ร่วมใช้เข้าออกจากที่ดินพิพาทสู่ทางสาธารณะ ซึ่งจิตใจของวิญญูชนคนธรรมดาทั่วไปโดยวิสัยและพฤติการณ์เยี่ยงจำเลยพึงรับรู้และคาดหมายได้อย่างแน่แท้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง และเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน กรณีแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยเจตนา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221" วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่" มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111-112/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิม สั่งย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์นิติสัมพันธ์และเจตนาของผู้เช่าซื้อ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท ไม่ชอบที่จะนำรถออกให้จำนำได้ โดยมิได้รับฟังข้ออ้างข้อเถียงของคู่ความถึงนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน จึงเป็นการด่วนวินิจฉัยข้อกฎหมายจากการฟังข้อเท็จจริงที่ยังไม่สิ้นกระแสความ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครองกับการมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
นอกจากจำเลยจำหน่ายซากเป็ดแดง 54 ซาก ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแล้ว หลังจากนั้นเมื่อเจ้าพนักงานผู้จับกุมไปตรวจค้นที่บ้านของจำเลยยังพบนกอีโก้ง 2 ตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ในกรงขังภายในบริเวณบ้านของจำเลย การที่จำเลยมีนกอีโก้งซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีไว้เพื่อการค้า จึงเป็นการกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาในการกระทำความผิดต่างกัน ประกอบกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 บัญญัติแยกไว้คนละมาตรา โดยความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในมาตรา 17 และมาตรา 92 ส่วนความผิดฐานค้าซากสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในมาตรา 29 และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทนิยามของคำว่า "ค้า" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562