พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8904/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด และการฟ้องร้องที่ไม่ชัดเจนในประเด็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วด้วยเหตุผลว่า ป. โจทก์ร่วมคนเดิมป่วยและถึงแก่ความตายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมก็เป็นการสั่งรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
เมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ กรณีต้องถือว่าโจทก์ร่วมมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในทุกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบียดบังยักยอกค่าเช่าที่ดิน มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยยักยอกที่ดิน แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยคืนที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ถือว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในการกระทำผิดฐานยักยอกที่ดิน โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12993/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์เนื่องจากคำพิพากษาไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกามีคำสั่งให้ขยายเวลาได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพิ่งส่งคำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนไปให้ศาลจังหวัดฝางหลังจากวันที่ศาลจังหวัดฝางอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแทน แสดงว่าในวันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ห้านั้น ศาลจังหวัดฝางยังไม่มีคำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนรวมอยู่ในสำนวนความที่ศาลจังหวัดฝาง อันจะทำให้คู่ความขอคัดถ่ายสำเนาได้ คำพิพากษาที่มีรายการครบถ้วนนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้โอกาสแก่ผู้อุทธรณ์ได้ตรวจดูข้อความทั้งหมดเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นการเรียงคำฟ้องอุทธรณ์อาจมีข้อบกพร่องไม่ครบถ้วนตามกฎหมายได้ ดังนั้น ขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ห้านั้น ถือได้ว่ามีข้อขัดข้องทางฝ่ายศาลอันเป็นเรื่องอยู่นอกเหนือการบังคับของโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10279/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้เกิดจากความผิดพลาดของทนาย
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 อ้างว่าทนายจำเลยหลงผิดว่าได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลก่อนวันที่ 30 กันยายน 2552 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ และเข้าใจผิดว่าวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2552 คำร้องดังกล่าวนั้นมิใช่เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย จึงเป็นดุลพินิจที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นเห็นควรให้โอกาสจำเลยและอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2552 จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัย อาการป่วยทนายความที่ไม่ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถดำเนินการยื่นคำร้องได้ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยจะยื่นคำร้องดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ซึ่งเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบและด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น แต่ปรากฏว่า วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ทนายจำเลยไปรับยาที่โรงพยาบาล แสดงว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยดังที่กล่าวอ้างจึงไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ทั้งทนายจำเลยยังรับในคำร้องว่าเป็นความพลั้งเผลอของทนายจำเลยจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนด อันนับเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยอีกด้วย ข้ออ้างของทนายจำเลยจึงมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัยตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนฎีกาจำเลยที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยนั้นอันเป็นฎีกาที่ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย แต่ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของทนายจำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยและความพลั้งเผลอของทนายจำเลย มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนฎีกาจำเลยที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุจำเป็นและสมควรที่จะรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัยนั้นอันเป็นฎีกาที่ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย แต่ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของทนายจำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยและความพลั้งเผลอของทนายจำเลย มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์-คำร้องคุ้มครองประโยชน์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุสมควรขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ไม่อาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาเดิมถึงที่สุดจากการขยายเวลาอุทธรณ์
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ไปจนถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2543 แต่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดในวันครบกำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์คือ วันที่ 28 ตุลาคม 2543 โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องที่ศาลชั้นต้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9391/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ขยายเวลาอุทธรณ์ไม่ชอบ – ศาลอุทธรณ์ไร้อำนาจ – อุทธรณ์จำเลยที่ 2 ชอบ
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่ก็มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ถูกต้องและไม่ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการสิ้นสุดอำนาจทนายความ: ศาลฎีกาพิจารณาความถูกต้องของกระบวนการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่ภายหลังจากวันที่ระบุหลังบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความหมดอายุ ทั้งทนายโจทก์ร่วมยังยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 โดยครั้งนี้ศาลชั้นต้นระบุว่าอนุญาตเป็นครั้งสุดท้ายถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 ครั้นถึงวันครบกำหนดโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 4 ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ร่วมอ้างเหตุเดิมเช่นเดียวกับครั้งก่อนและเหตุตามคำร้องไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ ให้ยกคำร้อง อันเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ร่วมหรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าใบอนุญาตให้เป็นทนายความของทนายโจทก์ร่วมหมดอายุแล้ว ทนายโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ร่วม หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องการหยิบยกว่าใบอนุญาตให้เป็นทนายความของทนายโจทก์ร่วมหมดอายุแล้ว ทนายโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ร่วม โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สมควรฟังข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายให้แน่ชัดเสียก่อนว่าทนายโจทก์ร่วมได้มีการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความหรือไม่ เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าทนายโจทก์ร่วมได้แสดงหลักฐานว่ามีการต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นทนายความแล้ว โดยบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความระบุวันออก 19 ธันวาคม 2560 วันหมดอายุ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นเวลาต่อเนื่องจากบัตรเดิมที่หมดอายุวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ทนายโจทก์ร่วมจึงมิใช่เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แทนโจทก์ร่วมได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและยกคำสั่งศาลชั้นต้นในคำร้องของทนายโจทก์ร่วมเริ่มตั้งแต่ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2560 เป็นต้นมาทุกคำสั่ง เพราะเหตุใบอนุญาตให้เป็นทนายความของทนายโจทก์ร่วมหมดอายุนั้น เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ/สุดวิสัย และการปลอมเอกสารธรรมดา ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงต้องมีเหตุสุดวิสัย จำเลยอ้างเหตุว่าจำเลยเจ็บป่วยกะทันหันและถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้ คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้แก่จำเลยที่จะฎีกา
อนึ่ง เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบโปรโมชั่นที่จำเลยปลอมเป็นเพียงเอกสารที่ให้ห้างโฮมโปรใช้เพื่อคำนวณเงินส่วนลดหรือส่วนชดเชยแต่ละช่วงเวลาที่ห้างโฮมโปรขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าแล้วนำไปหักทอนกับเงินค่าสินค้าที่โจทก์จำหน่ายให้แก่ห้างโฮมโปร หาเป็นเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารธรรมดา มิใช่เป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2560
อนึ่ง เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบโปรโมชั่นที่จำเลยปลอมเป็นเพียงเอกสารที่ให้ห้างโฮมโปรใช้เพื่อคำนวณเงินส่วนลดหรือส่วนชดเชยแต่ละช่วงเวลาที่ห้างโฮมโปรขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าแล้วนำไปหักทอนกับเงินค่าสินค้าที่โจทก์จำหน่ายให้แก่ห้างโฮมโปร หาเป็นเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารธรรมดา มิใช่เป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2560