คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต้องระบุเจตนาพิเศษในการหลอกลวงเพื่อประโยชน์ทางการเงิน หากคำฟ้องขาดองค์ประกอบนี้ ศาลยกฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษ... ดังนั้น การกระทำความผิดฐานดังกล่าวผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษ เพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องเพียงว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำหรือยินยอมให้กระทำในการจัดทำเอกสารเท็จหรือลงข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารของมูลนิธิเพื่อลวงให้กรรมการมูลนิธิและประชาชนเชื่อว่ามีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิตามวันเวลา สถานที่ และรายละเอียดการประชุมจริง เพื่อแสดงให้เชื่อว่ามูลนิธิเป็นเจ้าของกิจการบ้านลุงสนิทของโจทก์ อันเป็นการทำให้โจทก์ในฐานะส่วนตัวและเป็นกรรมการของมูลนิธิได้รับความเสียหาย โดยคำฟ้องมิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีมูลเหตุชักจูงใจอันเป็นเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้แต่ประการใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดในฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงครบถ้วน แม้ไม่ใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้ฟ้องต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด หรือฟ้องต้องบรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิด แต่การบรรยายฟ้องส่วนของข้อเท็จจริงในองค์ประกอบความผิดไม่ได้เคร่งครัดว่าจะต้องใช้ถ้อยคำตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทุกประการ
ฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานปลอมเอกสาร ฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เป็นลำดับและมีรายละเอียดต่อเนื่องกัน เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ และมีการบรรยายข้อความต่อเนื่องอีกว่า การกระทำตามฟ้องข้อดังกล่าวทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการบรรยายองค์ประกอบความผิดแล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามฐานนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำต้นฉบับโฉนดที่ดินของโจทก์ไปเสียจากโจทก์ ต่อมานำไปจดทะเบียนซื้อขายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นฟ้องที่บรรยายว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การรู้เรื่องความผิดและระยะเวลาแจ้งความร้องทุกข์
ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุงบันทึกไว้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 มีใจความว่า โจทก์ร่วมแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่าประมาณเดือนเมษายน 2559 โจทก์ร่วมว่าจ้างจำเลยก่อสร้างสนามฟุตบอล โดยจำเลยมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง การจ่ายเงินในการก่อสร้าง การสั่งสินค้าต่าง ๆ ต่อมาโจทก์ร่วมเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเกินกว่างบที่ตั้งไว้ จึงให้จำเลยส่งมอบใบเสร็จรับเงินมาให้ตรวจสอบ เมื่อโจทก์ร่วมตรวจสอบแล้วจึงทราบว่าจำเลยนำใบเสร็จรับเงินซึ่งมีจำนวนเงินค่าสินค้าสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาแอบอ้างแก่โจทก์ร่วมว่าเป็นใบเสร็จรับเงินที่ร้านค้าออกให้ ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีให้จำเลยไป เหตุเกิดที่ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งไว้และจะได้สอบสวนต่อไป ข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมแจ้งแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวพอเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยหลอกลวงด้วยการนำใบเสร็จรับเงินซึ่งหมายถึงบิลเงินสดที่ระบุจำนวนเงินค่าอุปกรณ์ก่อสร้างสูงกว่าความเป็นจริงมาแสดงแก่โจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและจ่ายเงินค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้จำเลยไปเกินกว่าความเป็นจริง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยฉ้อโกงโจทก์ร่วม ทั้งยังได้ความดังกล่าวข้างต้นว่าโจทก์ร่วมส่งมอบบิลเงินสดให้พนักงานสอบสวนไว้ด้วย และในข้อที่พนักงานสอบสวนบันทึกในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าจะได้สอบสวนต่อไป ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้ขอให้พนักงานสอบสวนระงับการดำเนินการสอบสวนไว้ก่อน พฤติการณ์ของโจทก์ร่วมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยแก่พนักงานสอบสวนโดยมีเจตนาจะให้จำเลยได้รับโทษแล้ว จึงเป็นคำร้องทุกข์ซึ่งได้กระทำภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การปรับบทกฎหมาย, และการลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยบรรยายแยกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด จำนวนและราคาทรัพย์ที่ถูกลักในแต่ละครั้งตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นความผิดหลายกระทง ซึ่งโจทก์รวมมาในฟ้องเดียวกันได้ เพียงแต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 มีใจความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองโดยใช้รถบรรทุกเป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่ได้แยกต่างหากจากฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 แต่เป็นการบรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเมื่ออ่านคําฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้วถือว่า ฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 ถึง 1.8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์, ฟ้องอาญาแจ้งความเท็จ, การสอบสวนที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน แต่ยังพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุก เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 กรณีไม่ระบุรายละเอียดการกระทำความผิด และฟ้องไม่ต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาคำฟ้องโจทก์ข้อ 2 แล้ว โจทก์ไม่บรรยายว่า ข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นของจําเลยที่ 1 ที่โจทก์อ้างเป็นมูลเพื่อขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสี่ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ และฐานลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้นั้น มีข้อความอย่างไร หรือเป็นความเท็จด้วยเหตุใดและความจริงเป็นอย่างไร ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จําเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกใบหุ้นให้แก่โจทก์ โจทก์ก็มิได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและจําเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไม่เคยมีหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่โจทก์ทราบมาก่อน ก็ไม่มีรายละเอียดของการกระทำว่าเป็นการเรียกประชุมครั้งใด เมื่อวันที่เท่าใด อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ฯ มาตรา 41 และ 42 อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้อ้างบทบัญญัติความผิดอื่นมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) ไม่อาจลงโทษจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ ส่วนจําเลยที่ 1 แม้ตามป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึง คู่กรณีไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องไม่ชอบ ซึ่งต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
of 55