พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องพิจารณา'เหตุ'เลิกจ้างที่แท้จริง แม้การสอบสวนจะผิดวิธีก็ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหากมีเหตุผลในการเลิกจ้าง
แม้การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยจะถือเป็นเหตุว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เพราะการเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมจะต้องพิจารณาถึง 'เหตุ' แห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงว่าได้มีได้เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีจึงจะพึงพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและมีเหตุผลเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: การอ้างเหตุเลิกจ้างที่แตกต่างกันไม่ทำให้คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นพิจารณาหลักยังคงเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การได้ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย.
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาการสอบสวนทางวินัย
ความที่ว่า 'การเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง'ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา49 มีความหมายว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้เลย หรือแม้จะมีเหตุแห่งการเลิกจ้างอยู่บ้างก็เป็นเหตุเพียงเล็กน้อยไม่สมควรถึงกับจะเลิกจ้างลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อการปฏิบัติงานของโจทก์ล่าช้า ไม่ติดตามผลงานและผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพจากการลาป่วยบ่อยครั้ง แม้ข้อบังคับไม่ได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างโดยตรง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถ โจทก์ได้ลาป่วยในรอบปีงบประมาณ 2530 เป็นเวลาถึง 34 วัน โดยลาป่วยเป็นประจำทุกเดือนแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานหนักในหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถได้ทั้งจำเลยก็เคยมีหนังสือเตือนโจทก์มาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่โจทก์ก็ยังคงลาป่วยอีก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3862/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดสัญญาจ้างงานโดยการแข่งขันธุรกิจ แม้กระทำนอกเวลางานก็ถือเป็นเหตุเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ตามคู่มือพนักงานของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ได้ออกข้อกำหนดห้ามพนักงานประกอบหรือร่วมกับบุคคลอื่นประกอบธุรกิจที่บริษัทจำเลยได้กระทำอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย ไม่ว่าจะได้กระทำในหรือนอกเวลาปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยก็ตาม หรือจะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม พนักงานซึ่งกระทำการดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น กรณีคงมีข้อยกเว้นให้กระทำได้ต่อเมื่อรับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยเพียงประการเดียวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทจำเลยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบผลไม้แช่แข็งกับห้างอื่นอันเป็นธุรกิจที่บริษัทจำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทจำเลย โจทก์ก็ย่อมมีความผิดตามคู่มือพนักงานอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้วการที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การใช้ลูกจ้างไปทำงานส่วนตัวของผู้บริหาร และการเบิกความเท็จมีผลต่อเหตุเลิกจ้าง
จำเลยฟ้องต่อศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรม แล้วเบิกความว่าจำเลยไม่ได้ใช้ ส.และ พ.พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของโจทก์ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยไปธุระส่วนตัวในเวลาทำงาน เพียงแต่เป็นผู้ฝากงานให้ ส.และ พ.ทำนอกเวลาทำงานปกติของโจทก์ เอกสารหมาย ล.9 เป็นหนังสือที่จำเลยขอบคุณ พ.ที่ไปช่วยงานโดยจำเลยไม่ทราบเรื่อง ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า ส.และ พ.ได้ละทิ้งหน้าที่เพราะจำเลยใช้ให้ไปทำงานส่วนตัวให้จำเลยหรือไม่โดยตรง ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นอาจจะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยทุจริตต่อหน้าที่ จงใจให้โจทก์เสียหายอันโจทก์ถือเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลย ซึ่งถ้าเป็นดังนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมข้อความที่จำเลยเบิกความดังกล่าวจึงเป็นข้อสำคัญในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือแจ้ง หากอ้างเหตุภายหลังศาลไม่รับฟัง
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้าง หากอ้างเหตุภายหลังถือว่าเป็นการยกข้อต่อสู้เพิ่มเติม
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์เพียงว่าจำเลยมีเหตุผลบางประการของบริษัท มิได้มีข้อความระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ฉะนั้นการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มาทำงานสาย เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย อันเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 นั้น จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้าง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย.