คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างทำของ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ผลสำเร็จคือคดีถึงที่สุด ค่าจ้างต้องจ่ายเมื่อผลสำเร็จนั้นเกิดขึ้น
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 จึงถือเอาผลสำเร็จของงาน คือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น คู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้หากไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีประชาชน เมื่อไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงจะชำระค่าจ้างว่าความเมื่อใด จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความเมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ คือเมื่อคดีถึงที่สุด เมื่อคดีที่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างว่าความแก่โจทก์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง หาใช่นับแต่วันที่โจทก์บังคับคดีให้แก่จำเลยเสร็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาที่โจทก์รับจ้างจำเลยทั้งสามว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของนั้นมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) ส่วนการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าว่าความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 บัญญัติไว้ว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งการส่งมอบและรับมอบการงานการที่ทำนั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสามพอใจและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามประสงค์ที่จะให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นทนายความดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสามในศาลชั้นต้นซึ่งคือศาลจังหวัดเชียงใหม่จนศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2545 ต้องถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษา หาใช่เมื่อคดีถึงที่สุดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ส่วนการที่โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์นั้นก็น่าเชื่อว่าโจทก์ทำไปโดยพลการ โจทก์จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นอ้างได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7118/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิยึดหน่วงเอกสาร, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
โจทก์ร่างสัญญาว่าจ้างให้จำเลยลงลายมือชื่อและจำเลยขอแก้ไขรายละเอียดก่อน แต่จำเลยก็ให้โจทก์เข้าทำงานตามที่ตกลงกันแล้วโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการพูดถึงเงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญาที่ยังตกลงในสัญญาที่ยังตกลงกันไม่ได้อีก เหตุที่มีการโต้เถียงเรื่องสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเกิดจากการที่โจทก์ทวงถามค่าจ้างจากจำเลย จำเลยจึงอ้างระเบียบของจำเลยที่ต้องทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์และจำเลยก็ไม่ได้ลงชื่อในสัญญาจ้างแต่โจทก์ก็ยอมรับปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้าง ส่วนจำเลยได้ถือเอาประโยชน์จากสัญญาในฐานะผู้ว่าจ้างและมีการชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์บางส่วนแล้ว พฤติการณ์แห่งคดีเช่นนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ตกลงรับจะทำการงานให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงให้ค่าจ้างเพื่อการนั้น ทำให้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยได้เกิดขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 โดยโจทก์และจำเลยมิได้มุ่งหมายให้สัญญาจ้างทำของพิพาทต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือโดยให้คู่สัญญาลงชื่อในสัญญาอีก สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบสั่งจ้างไม่ใช่สัญญาจ้างทำของที่ต้องเสียอากรแสตมป์ หากเป็นเพียงหลักฐานการทำนิติกรรม
ใบสั่งจ้างมีข้อความในตอนต้นของกระดาษว่าคือใบสั่งจ้าง และเอกสารดังกล่าวก็มีข้อความสำคัญเพียงว่า บริษัท ว. ผู้สั่งจ้าง โจทก์ผู้รับจ้าง วันที่ เลขที่ใบสั่งจ้าง รหัสสินค้า รายการสินค้า จำนวน ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงิน แม้จะมีการลงชื่อผู้ว่าจ้างและโจทก์ผู้รับจ้างด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อสัญญาจ้างทำของนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ประกอบกับลักษณะในการประกอบกิจการของโจทก์ที่จะรอคำสั่งจ้างจากผู้ว่าจ้างเป็นลักษณะรายครั้ง เมื่อผู้ว่าจ้างต้องการสั่งจ้างผลิตครั้งใดก็จะมีใบสั่งจ้างทีละครั้ง ทำให้ช่วงเวลาที่โจทก์ผลิตสินค้าเดือนมกราคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 86 ฉบับ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีใบสั่งจ้าง 18 ฉบับ เดือนมีนาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 70 ฉบับ เดือนเมษายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 36 ฉบับ เดือนพฤษภาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 7 ฉบับ เดือนมิถุนายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนกรกฎาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 8 ฉบับ เดือนสิงหาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 11 ฉบับ เดือนกันยายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 9 ฉบับ เดือนตุลาคม 2557 มีใบสั่งจ้าง 10 ฉบับ และเดือนพฤศจิกายน 2557 มีใบสั่งจ้าง 6 ฉบับ อันแสดงให้เห็นว่าใบสั่งจ้างดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานแห่งการทำนิติกรรม ไม่ใช่หนังสือสัญญาจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรตามลักษณะแห่งตราสาร 4 บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 อากรแสตมป์แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด และสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของชำรุดบกพร่อง & การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบัญญัติหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี" และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี..." ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 และ พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 7 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติตามมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. นี้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยของเงินที่ได้รับไว้นับแต่วันที่ 27 เมษายน 2560 ต่อมาจำเลยได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินคืน และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 จำเลยฟ้องแย้งขอเรียกคืนเงินสำรองและค่าเสียหาย จึงมีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ กรณีต้องนำบทบัญญัติมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ โดยจำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปีเท่ากับร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันเป็นวันที่ พ.ร.ก. นี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872-3873/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีสัญญาจ้างทำของ การแจ้งข้อพิพาท และผลของการวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ผู้คัดค้านยื่นคำเสนอข้อพิพาทกล่าวอ้างว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาจ้างงานบริการวิศวกรรมที่ปรึกษาอันถือเป็นสัญญาจ้างทำของ และเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุที่ปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี โดยนับจากวันสิ้นสุดหน้าที่ของผู้ร้องที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 แล้ว ส่วนเงื่อนไขให้ต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงข้อพิพาทหรือความเห็นที่ขัดแย้งเพื่อหาข้อยุติก่อนส่งเรื่องให้คณะอนุญาโตตุลาการตามสัญญานั้นมิอาจถือเป็นเงื่อนไขให้เริ่มนับอายุความได้เพราะขัดต่อเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมาย
แม้การที่ผู้คัดค้านเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการครั้งแรก อาจถือเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (4) แต่เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการในคดีดังกล่าวมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทเพราะเหตุว่าผู้คัดค้านไม่มีอำนาจเสนอข้อพิพาท กรณีย่อมถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 193/18 เมื่อผู้คัดค้านเสนอข้อพิพาทครั้งหลังเกิน 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 จึงขาดอายุความ
of 9