พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิดฟอกเงิน: การคืนเงินให้ผู้เสียหาย
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานด้วย ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะโอนไปเป็นของบุคคลใดหรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งหมดจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเช่นกัน การจะนำไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินหรือจะสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เมื่อปรากฏตามคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับความเสียหายประมาณ 17,369,000,000 บาท และดำเนินการตามกฎหมายเพื่อค่าเสียหายได้ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความเสียหายทั้งหมด จึงให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดและนำเงินจากการขายทอดตลาดทั้งหมดพร้อมดอกผล คืนให้แก่ผู้เสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนความเสียหายที่ยังไม่ได้รับคืนหรือชดใช้คืนตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาท: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงและหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย
แม้คดีนี้ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเองและไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในส่วนแพ่งก็ตาม แต่เมื่อคดีส่วนนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในส่วนแพ่ง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังจำหน่ายคดีแล้ว ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ไม่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ย่อมมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นแล้ว ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานับแต่โจทก์ถอนฟ้องและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว อันเป็นคำสั่งที่เกิดขึ้นภายหลังมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามและคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 และ 198 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกัน และผลของการบังคับคดีที่ตกเป็นพ้นวิสัย
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 4617 - 4618/2560 ซึ่งเป็นคดีสาขาในชั้นบังคับคดีของคดีตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ได้พิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุว่า หากผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีต่อไป ต้องเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำกับเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2562 ซึ่งมีบริษัท ต. เป็นโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ แม้ทั้งสองเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1083 แต่การปฏิบัติการชําระหนี้สามารถแบ่งแยกจากกันได้อย่างชัดเจน กรณีไม่เป็นคําพิพากษาของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันนั้นขัดกันอันจะตกอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากเด็กเพื่ออนาจาร, ชำเรา, และอัตราดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ภายในบ้านพักที่ผู้เสียหายที่ 2 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 แม้หลังจากจำเลยกระทำชำเราและออกจากบ้านพักดังกล่าวแล้ว จำเลยเรียกให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกจากบ้านเพื่อให้เงินและมีการโอบกอดผู้เสียหายที่ 2 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องกันในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุนั้นเอง จำเลยมิได้พาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่อื่นอันเป็นการพาไปหรือแยกออกไปจากอำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่ทำให้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน ยังไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนหุ้นของผู้ค้ำประกันเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการถูกทำให้เสียเปรียบ
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 680 บัญญัติว่า "อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น" ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ไว้กับโจทก์ โดยสัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้นที่ไปขอสินเชื่อจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 237 มิได้บัญญัติว่า การที่เจ้าหนี้จะร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใด ๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้กระทำลงภายหลังจากลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดชำระหนี้แล้วแต่ประการใด ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ผู้ค้ำประกันได้กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ก็ย่อมใช้สิทธิเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ว่า แม้กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า แต่หากกฎหมายใหม่ยังคงความผิดเดิมไว้ ก็ต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับย้อนหลังได้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากผู้กู้แต่ละรายต่างวันเวลากัน ระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2560 รวม 51 รายการ และมีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ ในขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แม้ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) ยังคงบัญญัติให้การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 จึงเป็นฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6999/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แม้ไม่มีเจตนาทุจริต ก็เป็นความผิดมูลฐานได้
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แม้ศาลจะไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต ก็เป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนโดยใช้อาวุธ: การวางอาวุธใกล้มือถือเป็นการข่มขู่ ทำให้ผู้เสียหายไม่กล้าขัดขืน
จำเลยพกพาอาวุธมีดขนาดใหญ่บุกรุกเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ในห้องนอน โดยขณะกระทำชำเราจำเลยวางอาวุธมีดไว้ข้างตัวใกล้มือจำเลย ซึ่งพร้อมจะหยิบฉวยได้ทันที พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กหญิงเกิดความกลัวว่าจะถูกทำร้ายด้วยอาวุธมีดนั้นจึงไม่กล้าขัดขืน ถือได้ว่าเป็นการใช้อาวุธมีดข่มขู่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้อาวุธตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดฐานบุกรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อปลูกอ้อย ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษ อ. และ ส. กับพวก ฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ การที่ อ. นำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งกว่า 1,000 ไร่ ให้ผู้คัดค้านที่ 2 เช่า และ ส. สามีกับผู้คัดค้านที่ 2 ภริยาได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ นั้น โดยการปลูกอ้อยและส่งขายให้แก่โรงงานน้ำตาล พฤติการณ์จึงเป็นการใช้ ยึดถือ หรือครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ หรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการค้า การกระทำของ อ. และ ส. จึงเข้าลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันเป็นความผิดมูลฐานตาม มาตรา 3 (15) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 แล้ว