พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองต้องแจ้งลูกหนี้ก่อน และศาลไม่อาจบังคับให้ผู้รับโอนไถ่ถอนจำนอง
โจทก์มิได้ฟ้องบริษัท อ. ลูกหนี้ผู้กู้ยืมเงินเป็นจำเลย และแม้โจทก์จะฟ้อง ช. เป็นจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ฟ้องในฐานะที่ ช. เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองอีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ฟ้อง ช. เป็นจำเลยในฐานะผู้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 82147 เมื่อผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 ผู้รับจำนองต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนด้วยตามเงื่อนไขใน ป.พ.พ. มาตรา 728 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวไปยังบริษัท อ. ลูกหนี้ก่อนด้วยว่าให้ชำระหนี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 82147 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญache่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย ค่าเสื่อมราคา รถยนต์คืนสู่สภาพเดิม
โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนในขณะที่สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งคัดค้านที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 14 จะระบุว่า "...หรือสัญญา สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยกรณีอื่นใดก็ตาม และเจ้าของได้กลับเข้าครอบครองรถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..." แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย อันเป็นผลให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อเรียกร้องค่าขาดราคาจากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย แต่กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงผลของการเลิกสัญญาที่จะยกมาปรับคดีได้ จึงต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเทียบเคียง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญา อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งเฉพาะการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์เป็นทรัพย์ที่เสื่อมสภาพและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและการใช้งาน การกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เห็นได้อยู่ในตัวว่าไม่อาจทำให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้เหมือนดังเช่นขณะทำสัญญา ดังนั้น เพื่อให้โจทก็ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ใกล้เคียงกับขณะทำสัญญาเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อ และสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากผู้เช่าซื้อที่ผิดนัดชำระ
การที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรก ต่อมาจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อพิพาทโต้แย้งในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ และที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ บ่งชี้ถึงเจตนาที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ต้องการที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ยังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 ที่บัญญัติว่า ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง อันเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและวิธีบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อไว้เป็นการเฉพาะนอกจากการเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 4 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์โดยมีเจตนาจะเลิกสัญญา และโจทก์รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 ซึ่งผิดนัดเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 พฤติการณ์แห่งคดีหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดราคา
การที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรก ต่อมาจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อพิพาทโต้แย้งในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อกัน พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ และที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ภายหลังจากที่ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ บ่งชี้ถึงเจตนาที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ต้องการที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช่นนี้ แม้จำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ก็ยังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 ที่บัญญัติว่า ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง อันเป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและวิธีบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อไว้เป็นการเฉพาะนอกจากการเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 สัญญา หมวด 4 ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์โดยมีเจตนาจะเลิกสัญญา และโจทก์รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 ซึ่งผิดนัดเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 พฤติการณ์แห่งคดีหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรม สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน ค่าเสื่อมราคาชดใช้
ผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่กรณีได้กลับคืนฐานะเดิมทุกกรณี แม้การคืนทรัพย์จะพ้นวิสัยก็ต้องกำหนดค่าเสียหายแทน โดยการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้นอาจเกิดจากการคืนทรัพย์ที่เคยรับไว้ให้แก่คู่กรณีไม่ได้เพราะทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลายหมดสิ้นจึงไม่อาจคืนกันได้ หรือคืนได้แต่ทรัพย์นั้นมีความชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายไปบางส่วน ส่วนที่ชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายไปนั้น ถือเป็นการพ้นวิสัยที่จะกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ฝ่ายมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์จึงต้องใช้ค่าเสียหายแทน ทั้งนี้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความสุจริตของฝ่ายที่รับทรัพย์สินนั้นเลยว่าจะได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถพิพาทให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2553 ซึ่งโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2556 กรมสอบสวนคดีพิเศษอายัดรถพิพาทเพื่อตรวจสอบ แต่หลังจากนั้นเพียง 1 เดือนเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษคืนรถให้โจทก์กลับไปครอบครองดูแลโดยไม่ห้ามโจทก์นำรถออกใช้ประโยชน์ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถพิพาทตลอดมา เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถพิพาทให้โจทก์จนปัจจุบัน รวมเวลากว่า 13 ปี รถพิพาทย่อมชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมสภาพหรือเสื่อมราคา ทำให้ราคารถพิพาทลดลง กรณีจึงเป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะคืนรถแก่จำเลยที่ 1 ในสภาพเดิมได้ ค่าเสื่อมราคาจากการใช้ประโยชน์รถพิพาทของโจทก์เป็นค่าเสียหายชดใช้แทนที่ศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การหรือนำสืบถึง สมควรกำหนดค่าเสื่อมราคารถพิพาทเป็นเงิน 16,000,000 บาท เมื่อนำไปหักออกจากราคารถพิพาท คงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์ 23,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมเงินและผลของการประนีประนอมยอมความต่อสิทธิของผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบคำขอกู้และรับรองสิทธิโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ระบุวัตถุประสงค์ไว้ในข้อ 3 ว่า เพื่อชำระหนี้และทุนการศึกษาบุตร แสดงว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนี้เกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแนบท้ายแบบคำขอกู้ดังกล่าว อันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น หนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดต่อธนาคาร อ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่เมื่อได้ความว่า ในคดีที่ธนาคาร อ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และ ท. กับโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดพะเยานั้น ต่อมา ธนาคาร อ. จำเลยที่ 1 ท. และโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวระงับสิ้นไป โดยธนาคาร อ. ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับธนาคาร อ. โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่ารักษาพยาบาล: การลงนามรับผิดชอบแทนผู้อื่น ไม่ใช่การผูกพันตนเอง
ตามใบรับผู้ป่วยในจำเลยลงลายมือชื่อในช่องข้อมูลผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลว่าผู้รับผิดชอบแทนผู้ป่วย หมายความว่า จำเลยยินยอมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทน ก. มารดาในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทน ก. โดยตรง มิใช่จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกที่ยินยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่ ก. มารดาจำเลยค้างชำระต่อโจทก์ โจทก์เป็นสถานพยาบาลฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่จำเลยทำสัญญารับผิดชอบ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (11)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันแก่หนี้ของคู่สมรส: ต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า สัตยาบัน คือ การยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรม และเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า บุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490 (4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนสามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำไว้ต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการให้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ COVID-19 และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 700
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งไปยังสถาบันการเงินตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งการที่บังคับให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติ หากแต่เป็นเพียงการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเท่านั้น และตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 ข้อ 2 (3) ระบุชัดเจนว่าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามมาตรการนี้ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญา แต่หากมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญาออกไปก็ขอให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับหลักประกันและผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งผลการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ตามที่กำหนดในสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2563 ถึงงวดเดือนกันยายน 2563 รวม 6 งวด แล้วให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2563 ถึงงวดเดือนมิถุนายน 2568 แทนนั้น แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนงวดที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เพราะจำเลยที่ 1 ยังต้องชำระค่าเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นภายใน 72 งวด แต่ก็เป็นผลให้ในระหว่างนี้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ และการจะพักชำระหนี้ตามมาตรการดังกล่าวหรือไม่ยังต้องคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากข้อความตอนท้ายของหนังสือที่โจทก์มีไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 แสดงความไม่ประสงค์ให้โจทก์ทราบภายในกำหนดด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าการพักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแต่ละงวดเป็นเพียงชะลอการผิดนัดของลูกหนี้ในระหว่างสัญญาเท่านั้น เมื่อค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายที่เดิมถึงกำหนดชำระเดือนธันวาคม 2567 ถูกขยายระยะเวลาไปอีก 6 เดือน เป็นเดือนมิถุนายน 2568 การพักชำระหนี้ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีลักษณะเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับภาระผูกพันตามสัญญายาวนานขึ้นจากที่ระบุในสัญญา หากโจทก์จะให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นอันเป็นการผ่อนเวลาออกไปในส่วนของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันนั้นก็ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง คือ ต้องให้จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น การที่โจทก์เพียงมีหนังสือแจ้งผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงยินยอมในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ด้วย จึงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไปตามบทกฎหมายดังกล่าว